วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

หมู่เลือดและการให้เลือดในระบบ ABO และระบบ Rh

หมู่เลือดและการให้เลือด

ในระบบ ABO และระบบ Rh 


          หมู่เลือดมีอยู่มากมายหลายระบบ แต่หมู่เลือดของคน ซึ่ง

จำแนกตามสากล คือ หมู่เลือดที่จำแนกตามระบบ ABO โดยจำแนก

ได้ 4 หมู่ ตามชนิดของแอนติเจนที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ 

หมู่เลือด A B AB และ O 


         ในน้ำเลือดมีแอนติเจนด้วยกัน 2 ชนิด คือ แอนติเจน A 

และแอนติเจน B และมีแอนติบอดี 2 ชนิด คือ แอนติบอดี A และ

แอนติบอดี B


        ลักษณะของหมู่เลือดตามระบบ ABO นี้ เป็นลักษณะที่

ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่ควบคุมโดยยีนประเภทมัลติเปิลแอนลีน 

ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาพันธุกรรมของมนุษย์



  • หมู่เอ: มีแอนติเจนเอบนผิวเม็ดเลือดแดง  
  •                                    มีแอนติบอดีบีในพลาสมา

  • หมู่บี: มีแอนติเจนบีบนผิวเม็ดเลือดแดง    
  •                                   มีแอนติบอดีเอในพลาสมา









การให้เลือด



         เมื่อคนไข้ได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้ร่างกายสูญเสียเลือดมาก 

หรือคนไข้ที่มีเลือดในร่างกายน้อย หรือบุคคลที่ต้องการให้เลือดไม่

ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม จะมีข้อจำกัดในการให้และรับเลือดนั้น ผู้ให้และ

ผู้รับควรจะมีหมู่เลือดเดียวกันจึงจะปลอดภัยที่สุด หรืออาจยึดหลัก

โดยทั่วไปว่า เลือดของผู้ให้ต้องไม่มีแอนติเจนตรงกับแอนติบอดีของ

ผู้รับ เพราะถ้าหากเลือดของผู้ให้มีแอนติเจนตรงกับแอนติบอดีของ

ผู้รับ จะทำให้เลือดเกิดการตกตะกอนเป็นอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้

        พ่อและแม่ถ่ายทอดหมู่เลือด/หมู่โลหิตระบบเอบีโอให้ลูกเป็น

หมู่เลือด/หมู่โลหิตได้ดังในตารางด้านล่างนี้




  •          นอกจากหมู่เลือดระบบ ABO แล้ว ในเลือดคนยังมี

    แอนติเจนชนิดอื่นอีกหลายระบบ อีกระบบหนึ่งทู้จักกันดี คือ 

    หมู่เลือดระบบ Rh


            คนไทยมากกว่าร้อยละ 90 จะมีแอนติเจน Rh อยู่ที่

เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง กลุ่มนี้เรียกว่ามีหมู่เลือด Rh+ 

ส่วนบางคนไม่มีแอนติเจน Rh ที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง คนพวกนี้มี

หมู่เลือด Rh

            หมู่เลือด Rh นี้ แตกต่างจากหมู่เลือดระบบ ABO 

บางประการ คือ หมู่เลือดระบบ Rh ปกติจะไม่มีการสร้างแอนติบอดี

เว้นแต่คนที่มีหมู่เลือด Rh เมื่อได้รับหมู่เลือด Rh+ แอนติเจนของ

หมู่เลือด Rh+ จะกระตุ้นให้คนที่มีหมู่เลือด Rh สร้างแอนติบอดี

ต่อ Rh 



            ฉะนั้นในการให้เลือดแก่กันนั้นต้องคำนึงถึงปัจจัย Rh ด้วย

ทั้งนี้เพราะถ้าผู้รับเลือดเป็น Rh– ได้รับเลือด Rh+ เข้าไปใน

ร่างกายของผู้รับก็อาจจะถูกกระตุ้นให้ผู้รับสร้างแอนติบอดีต่อ Rh ขึ้น

ได้ ดังนั้นการให้เลือด Rh+ ครั้งต่อไป แอนติบอดีต่อ Rh ใน

ร่างกายของผู้รับจะต่อต้านกับแอนติเจนจากเลือดของผู้ให้ ทำให้เกิด

อันตรายถึงชีวิตได้


คุณแม่ ตั้งครรภ์ ควรตรวจกรุ๊ปเลือด Rh- ป้องกันการแท้งลูก


หมู่เลือด นอกจากหมู่เลือดที่เรารู้จักกันดีอย่าง  A, B, AB, O แล้ว ยังมีอีกระบบหนึ่งคือระบบที่เรียกว่า Rh คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรตรวจเลือด ดูว่า Rh เป็น Rh Negative (Rh-) หรือไม่ เพราะ Rh- มีความเสียงที่จะแท้งลูกสูง



มารู้จักหมู่เลือดระบบ Rh กัน

       หมู่เลือดระบบ Rh แบ่งเป็น Rh Positive (Rh+) และ
Rh Negative (Rh-) ซึ่งคนที่มีเลือด Rh+ จะมีสารแอนติเจนดี 
(Antigen D) อยู่ที่ผิวเม็ดเลือด ส่วนคนที่มีเลือดเป็น Rh- จะไม่มี
สารแอนติเจนดี ทำให้คนที่มีเลือดเป็น Rh- ไม่สามารถรับการถ่าย
เลือดจากคนที่เป็น Rh+ ได้ จะรับการถ่ายเลือดได้จากเฉพาะคนที่มี
เลือดเป็น Rh- ด้วยกันเท่านั้น เนื่องจากร่างกายของคนที่มีเลือดเป็น
Rh- จะสร้างภูมิต้านทาน (Antibody D) ขึ้นมา 
      ซึ่งส่วนใหญ่คนไทย 99.7% จะเป็นหมู่เลือด Rh+ มีเพียง 3 
ใน 1,000 คน หรือ 0.3% เท่านั้น ที่เป็น Rh- และเป็นหมู่เลือดหา
ยากของเมืองไทย

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ที่มีเลือดเป็น Rh- ควรต้องรู้   




           หากคุณแม่มีเลือด Rh- แล้วฝ่ายคุณพ่อมีเลือด Rh+ 
แบบ 100% ไม่มียีนแฝง แน่นอนว่าลูกในท้องจะมีหมู่เลือดเป็น 
Rh+ ตามคุณพ่อ ซึ่งระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่ ก็มีโอกาสเกิด
เหตุจนเลือดของลูกไหลผ่านรกเข้าไปในร่างกายของคุณแม่ได้ 
          ทำให้ร่างกายของคุณแม่สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ซึ่งภูมิ
ต้านทานเหล่านี้จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกจนเกิดเป็น
สารสีเหลือง ซึ่งปกติร่างกายของคุณแม่จะช่วยขับออกไปได้ แต่หาก
มีมากเกินไปสารสีเหลืองจะไปเกาะสมองของเด็ก ทำให้เด็กพิการได้
หากภูมิต้านทานคุณแม่มีมากจะเกิดโอกาสแท้งลูกได้ การรักษามี 2 
ทางคือ
     1. ถ่ายเลือดให้ลูกในครรภ์ โดยให้เลือด Rh- แก่เด็ก
     2. การทำคลอดก่อนกำหนด

         เมื่อคลอดออกมาแล้ว ไม่ว่าคลอดก่อนกำหนดหรือคลอด
ตามปกติ หากเด็กมีอาการตัวเหลือง ซึ่งเกิดจากสารสีเหลืองตกค้าง
ในร่างกาย ต้องนำเข้าตู้ฉายแสงเพื่อกำจัดสารดังกล่าวค่ะ เพราะ
ร่างกายของเด็กยังไม่สามารถขับออกเองได้เหมือนขณะอยู่ในท้องแม่
       แต่อย่างไรก็ตาม การให้ยาเพื่อทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกที่
เข้าไปในร่างกายของคุณแม่ ปัจจุบันสามารถให้ยาดังกล่าวได้ตั้งแต่
อายุครรภ์ 8 เดือน เพื่อป้องกันการสร้างภูมิต้านทานในร่างกายคุณแม่
ขึ้น 

      ดังนั้น การฝากครรภ์ปัจจุบันจึงมีการบังคับให้คุณแม่ต้องตรวจ
เลือดและภูมิต้านทานเลือด เพื่อป้องกันการเกิดเหตุลักษณะดังกล่าว 
และคุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์และตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ 
เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยนะคะ

                                           💖💖💖💖💖💖 

        เป็นอย่างไรกันบ้างคะ  นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับหมู่เลือดและ

การให้เลือดในระบบ ABO และระบบ Rh กันแล้วนะคะ ใครที่คิด

ว่ายากก็ขอให้หมั่นอ่านทบทวนบ่อยๆ นะคะ ชัยชนะเป็นของนักเรียน

ที่หมั่นฝึกฝนแน่นอนค่ะ สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ











22 ความคิดเห็น:

  1. สรุปเนื้อหาได้ดีมากค่ะ อ่านง่าย เข้าใจดีค่ะ (นางสาวสุดารัตน์ ยอดเกตุ ชั้นม. 4/2 เลขที่9)

    ตอบลบ
  2. อ่านเข้าใจดีค่ะ
    นางสาวจิราภรณ์ กลีบพิมาย ม.4/2 เลขที่5

    ตอบลบ
  3. หาเนื้อหาเข้าใจง่าย สำหรับ นร. ดีค่ะ
    นส.ศศิกานต์ อินทชัย 4/1 เลขที่18

    ตอบลบ
  4. ได้ความรู้เพิ่มเติมครับ
    นายสิทธิชัย ผลพิมาย 4/1 เลขที่2

    ตอบลบ
  5. ได้ความรู้เพิ่มมากเลย ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ
    นางสาววสิตา จรูญไธสง ม.4/1 เลขที่11

    ตอบลบ
  6. อ่านง่าย สรุปเนื้อหาได้ดีมากค่ะ
    นางสาวมาริสา หอมหวล ม.4/2เลขที่28

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาเยอะแต่อ่านเข้าใจดีค่ะ นางสาวจิรัชญา จาระงับ ม4/2 เลขที่26

    ตอบลบ
  8. อ่านง่ายเข้าใจง่ายน่าอ่านดีค้ะ มีรูปภาพประกอบดีค้ะ
    นางสาวศิริประภา พูนพันธ์ ม.4/2 เลขที่19

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย น.ส ฐิติมา ยันพิมาย ชั้น ม.4/2 เลขที่27

    ตอบลบ
  10. สีสันสดใส เนื้อหาน่าอ่าน เข้าใจง่าย นางสาวอัญจิมา บุราชกัง ม.4/2 เลขที่10

    ตอบลบ
  11. เข้าใจง่ายมากค่ะ น.ส.อุษา ดีขุนทด ชั้นม.4/2 เลขที่31

    ตอบลบ
  12. น.ส.ปภาวดี ม่วงทอง 4/1 เลขที่22 เนื้อหาเข้าใจง่าย กระชับ

    ตอบลบ
  13. เนื้อหาดีค่ะ นางสาวฐิติมา ผลพิมาย ชั้นม.4/1 เลขที่4

    ตอบลบ
  14. อ่านเข้าใจมากค่ะ น.ส.นพรัตน์ สมทางดี ม.4/1 ลขที่6

    ตอบลบ
  15. เนื้อหาดีมากคะอ่านสอบได้ง่ายเลย(สุดารัตน์ แคะสุงเนิน ม.4/1 เลขที่12)

    ตอบลบ
  16. อ่านเข้าใจง่ายค่ะ น.ส.ปานณภัทร เกตุแก้ว เลขที่8 ม.4/1

    ตอบลบ
  17. เนื้อหาน่าสนใจดีค่ะ นส.พัณณิตา เทพนอก ม.4/1 เลขที่10

    ตอบลบ
  18. เน ื้อหาดีมากค่ะ
    นส.สุกัญญา สาสุข
    ม.4/1เลขที่16

    ตอบลบ
  19. เนื้อหาดีมากครับ
    นายโอเบอรอน ไร่พิมาย ม.4/2 เลขที่25

    ตอบลบ
  20. อ่านง่ายเข้าใจง่ายน่าอ่านดีค้ะ มีรูปภาพประกอบดีค้ะ น.ส ณัฐณิชา ปรองพิมาย ชั้น ม.4/2 เลขที่20

    ตอบลบ
  21. เนื้อหาเข้าใจง่าย มีสีสัน มีรูปภาพประกอบอ่านแล้วได้ความรู้มากขึ้นค่ะ
    (น.ส.ปภัสสา จริงพิมาย ม.4/1 เลขที่21)

    ตอบลบ
  22. เนื้อหาดีมากๆค่ะ อ่านแล้วเข้าใจดีค่ะ นางสาวอณุชิดา พวงเพชร เลขที่23 ชั้น ม.4/1

    ตอบลบ