วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนก๊าซตอนที่ 2


โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์ (ต่อ)

    สัตว์จำพวก สะเทินน้ำสะเทินบก (amphibians) ได้ออกซิเจน ประมาณ 25% จากทางผิวหนัง สัตว์พวกนี้จะต้องมีผิวหนังที่เปียกชื้น จึงจะสามารถเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยอยู่ในน้ำหรือที่เปียกชื้น


2. เหงือก (gill)
  เป็นพื้นที่หายใจของสัตว์น้ำหลายประเภท ตั้งแต่สัตว์ใหญ่ เช่น
ปลา ไปจนถึง กุ้ง หอย ดาวทะเล หนอนทะเล เป็นต้น

โครงสร้างคล้ายขนนกที่ยื่นออกมานอกตัวเข้าไปในน้ำ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ

เหงือกปลามีเนื้อเยื่อที่ลักษณะคล้ายขนนกที่พับไปมาเรียงตัวกันเป็นแผง ภายในประกอบด้วยเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ขณะที่ปลาว่ายน้ำออกซิเจนปริมาณน้อยที่ละลายอยู่ในน้ำจะแพร่ผ่านผนังของเส้นเลือดฝอยเหล่านี้แล้วไหลเวียนไปตามระบบหมุนเวียนเลือด











 












วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนก๊าซตอนที่ 1


 โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์

โครงสร้างที่ใช้แลกเปลี่ยนแก๊สนี้อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท
1. ผิวของร่าง (body surface)
พบในสัตว์เล็กๆ ที่มีสัดส่วนของพื้นที่ต่อปริมาตรสูง (เช่น ขนาด
ตัวเล็ก และยาว หรือแบน) ใช้ผิวหนังทั่วร่างเป็นพื้นที่หายใจ เช่น  
โปรโตซัว ฟองน้ำ พยาธิตัวแบน ไส้เดือน เป็นต้น สัตว์เหล่านี้มีผิว
หนังที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนไม่มาก มีลักษณะบาง ทำให้แก๊ส
สามารถแพร่ผ่านเข้าออกได้ง่าย ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
แพร่ผ่านเข้า-ออกได้โดยตรงไม่ต้องอาศัยระบบทางเดินหายใจ 
 


ฟองน้ำ



พยาธิตัวแบบ




ไส้เดือนดิน

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว



  การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (โพรทิสต์)

    

1. การเคลื่อนที่แบบอะมีบอยด์ 

            การเคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoeboid movement) พบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจำพวกโพรโทซัวบางชนิดนอกจากนี้ยังพบในเซลล์เม็ดเลือดขาว อะมีบาเป็นโพรโทซัวที่ไม่มีโครงสร้างสำหรับการเคลื่อนที่โดยเฉพาะ แต่มีการสร้างขาเทียม (pseudopodium) โดยการไหลของไซโทพลาซึมเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ ไซโทพลาซึมของเซลล์อะมีบา  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เอ็กโทพลาซึม (ectoplasm) เป็นไซโทพลาซึมชั้นนอก มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลวเรียกว่า เจล (gel) และเอนโดพลาซึม (endoplasm) เป็นไซโทพลาซึมชั้นใน มีลักษณะค่อนข้างเหลว เรียกว่า โซล (sol) ภายในไซโทพลาซึมมีเส้นใยโปรตีนเล็ก ๆ เรียกว่า ไมโครฟิลาเมนท์ (microfilament) ซึ่งมีโปรตีนแอกทิน (actin) เป็นส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงของแอกทินโดยการแยกตัวของแอกทินออกเป็นหน่วยย่อย ทำให้ไซโทพลาซึมเปลี่ยนสภาพจากเจลเป็นโซล แต่เมื่อมีการรวมตัวกันของแอกทินจะทำให้   ไซโทพลาซึมเปลี่ยนสภาพจากโซลเป็นเจลได้ ทำให้เกิดการไหลของไซโทพลาซึม โดยไซโทพลาซึมที่เหลวกว่าจะไหลไปในทิศทางที่เซลล์ต้องการเคลื่อนที่โดยดัน ให้เยื่อหุ้มเซลล์โป่งออกเรียกว่า ขาเทียม จากนั้น ไซโทพลาซึมส่วนที่เหลือจะเคลื่อนที่ตามในทิศทางเดียวกับขาเทียม จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอะมีบา