วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เตรียมสอบ กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอม การสร้างภูมิคุ้มกัน และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอม 
การสร้างภูมิคุ้มกัน และความผิดปกติของ
ระบบภูมิคุ้มกัน


สวัสดีค่ะ สุขสันต์วันแห่งความรักนะคะ


       วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องก
ลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอม การสร้างภูมิคุ้มกัน และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันแบบสรุปเข้มเตรียมตัวสอบกันนะคะ

- กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบไม่จำเพาะและมีเซลล์ความจำต่อแอนติเจนนั้น

 - แมโครฟาจพัฒนามาจากโมโนไซต์และมีหน้าที่นำเสนอชิ้นส่วนของแอนติเจนบนผิวเซลล์ต่อเซลล์ทีชนิด CD4 และทำลายแอนติเจน

- เซลล์พลาสมาพัฒนามาจากเซลล์ทีชนิด CD8 ที่ถูกกระตุ้น เพื่อสร้างแอนติบอดี

- เด็กที่เคยได้รับวัคซีนบาดทะยัก เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวจำเป็นต้องได้รับวัคซีนซ้ำอีก

- การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ทุกชนิด

เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสจะถูกเซลล์ทีเข้าทำลายได้โดยตรง

- เซลล์ความจำเกิดจากการแบ่งเซลล์ของเซลล์บีและเซลล์ที

- ทอกซอยด์ผลิตจากสารพิษของแบคทีเรีย

- เชื้อไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์

- เชื้อโรคกระตุ้นเซลล์แมสต์

- เชื้อโรคถูกดักจับโดยแมโครฟาจ

- เชื้อโรคถูกดักจับโดยนิวโทรฟิลและโมโนไซต์

เชื้อโรคกระตุ้นเซลล์แมสต์ทำให้เกิดการอักเสบ

- แมโครฟาจกระตุ้นเซลล์ทีชนิด CD4

- เซลล์ทีชนิด CD4 กระตุ้นเซลล์ทีชนิด CD8

- เซลล์ทีชนิด CD8 แบ่งเซลล์ทำลายเซลล์ติดเชื้อ

- หน้าที่ของเซลล์ CD8  คือ ทำลายเซลล์ติดเชื้อ

หน้าที่ของแอนติบอดี คือ จับกับเชื้อโรค

- สารพิษซึ่งเชื้อโรคปล่อยออกสู่กระแสโลหิต คือ Toxoid

- เมื่อมีอหิวาตกโรคระบาดนักเรียนจะถูกแนะนำให้ไปรับการฉีดวัคซีน  (Vaccine) คือ เชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์หรือตายลงแล้ว

สารแอนติบอดีจะมีการลำเลียงไปยังส่วนต่างของร่างกายโดย ระบบหมุนเวียนเลือด

- การแสดงถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน คือ ปุ้ยหายหวัดได้เองโดยไม่ต้องไปหาหมอ

-  antigen คือ โปรตีนที่อยู่บนผิวเซลล์ของเชื้อโรค

-  เซลล์บีและเซลล์ทีทำงานสัมพันธ์กันโดยเซลล์ทีผู้ช่วยกระตุ้นให้เซลล์บีสร้างแอนติบอดี

-  เซรุ่มคือ แอนติบอดีที่ได้จากกระต่าย

ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคหรือสารพิษที่นำมาทำเป็นวัคซีนได้เพราะ เชื้อโรคในวัคซีนตายแล้ว  เชื้อโรคในวัคซีนมีฤทธิ์อ่อนลงมาก และสารพิษในวัคซีนหมดความเป็นพิษแล้ว      

- หลักการทำงานของวัคซีนคือใช้เชื้อโรคที่ตายแล้วกระตุ้นการสร้างเซลล์เมมเมอรี

- พิษซึ่งทำให้อ่อนลงแล้วฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี คือ ทอกซอยด์

วัคซีนกับเซรุ่มต่างกันโดยวัคซีนเป็นภูมิคุ้มกันก่อเอง ส่วนเซรุ่มเป็นภูมิคุ้มกันที่รับมา

วัคซีน คือ เชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์หรือตายแล้ว

-  เชื้อเอดส์เกิดจากไวรัส จึงไม่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันได้
💖💖💖💖💖💖 เป็นอย่างไรกันบ้างคะ  นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันแล้วนะคะ ใครที่คิดว่ายากก็ขอให้หมั่นอ่านทบทวนบ่อยๆ นะคะ ชัยชนะเป็นของนักเรียนที่หมั่นฝึกฝนแน่นอนค่ะ สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ


วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การกำจัดของเสียออกนอกร่างกาย

การกำจัดของเสียออกนอกร่างกาย


ระบบขับถ่ายในสัตว์

          ในเซลล์หรือในร่างกายของสัตว์ต่าง ๆ จะมีปฏิกิริยาเคมีจำนวนมากเกิดขึ้นตลอดเวลา 
และผลจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตและของเสียที่ต้องกำจัดออกด้วยการขับถ่าย 💚💚💚

          สัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะและกระบวนการกำจัดของเสียออกนอกร่างกายแตกต่างกันออกไป 

          สัตว์ชั้นต่ำที่มีโครงสร้างง่าย ๆ เซลล์ที่ทำหน้าที่กำจัดของเสียจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง 💚💚💚 

          ส่วนสัตว์ชั้นสูงที่มีโครงสร้างซับซ้อน 
การกำจัดของเสียจะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เฉพาะ
   
                             💕💕💕💕💕💕

          ระบบขับถ่ายของสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

 1. ฟองน้ำ 

          - เยื่อหุ้มเซลล์เป็นบริเวณที่มีการแพร่ของเสียออกจากเซลล์ของฟองน้ำ


                            💕💕💕💕💕💕💕

    2. ไฮดรา แมงกะพรุน 
         
       
 - ใช้ปาก  โดยของเสียจะแพร่ไปสะสมในช่องลำตัวแล้วขับออกทางปากและของเสียบางชนิดจะแพร่ทางผนังลำตัว กำจัดของเสียในรูปแอมโมเนีย


                                 💕💕💕💕💕💕

    3. พวกหนอนตัวแบน เช่น พลา
    นาเรีย พยาธิใบไม้



    - ใช้เฟลมเซลล์(Flame Cell) ซึ่งกระจายอยู่ทั้งสองข้างตลอดความยาวของลำตัว เป็นตัวกรองของเสียออกทางท่อซึ่งมีรูเปิดออกข้างลำตัว กำจัดของเสียในรูปแอมโมเนีย




                            💕💕💕💕💕💕

    4. พวกหนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน

     -ใช้เนฟริเดียม (Nephridium) รับของเสียมาตามท่อ และเปิดออกมาทางท่อซึ่งมีรูเปิดออกข้างลำตัว  กำจัดของเสียในรูปแอมโมเนียและยูเรีย




    5. แมลง 

      - ใช้ท่อมัลพิเกียน (Mulphigian Tubule) ซึ่งเป็นท่อเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่ระหว่างกระเพาะกับลำไส้ ทำหน้าที่ดูดซึมของเสียจากเลือด และส่งต่อไปทางเดินอาหาร และขับออกนอกลำตัวทาง
ทวารหนักร่วมกับกากอาหาร  กำจัดของเสียในรูปกรดยูริก



    6. สัตว์มีกระดูกสันหลัง 

-  มีไต (kidney) เป็นอวัยวะขับถ่ายทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียและรักษาสมดุลของน้ำและเเร่ธาตุโดยทำงานร่วมกับระบบหมุนเวียนเลือด

สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก (Reptile and Aves)
           สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกมีไต (Kidney) เป็นอวัยวะขับถ่าย สุดท้ายจะขับถ่ายออกทางช่องเปิดของโคลเอกา (Cloaca opening) อวัยวะขับถ่ายสามารถเปลี่ยนของเสียประเภทแอมโมเนียให้กลายเป็นกรดยูริก (Uric acid) ซึ่งไม่เป็นพิษ 

           ดังนั้นน้ำปัสสาวะของสัตว์พวกนี้จะอยู่ในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semisolid) กรดยูริกที่มายังโคลเอกาจะตกตะกอนเป็นผลึกสีขาวรวมตัวกับอุจจาระ  ช่วงที่เป็นเอ็มบริโอกรดยูริกจะเก็บสะสมไว้ในถุงแอลแลนทอยด์ (Allantosis)


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม(Mammal)

           สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อวัยวะขับถ่ายประกอบด้วย ไต 1 คู่ 

         โครงสร้างของไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก คือ คอร์เทกซ์ (Cortex) และเยื่อชั้นใน คือ เมดัลลา (Medulla) ในเนื้อเยื่อของไตมีหน่วยไต (Nephron) เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่สร้างน้ำปัสสาวะและลำเลียงไปตามท่อไต (Ureter) และเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ก่อนจะขับถ่ายออกนอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ (Urethra)สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะขับถ่ายของเสียซึ่งเป็นสารประกอบไนโตรเจนเป็นยูเรีย




โครงสร้างภายในของไต
1.รีนัลแคปซูล (Renal capsule) เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดหุ้มรอบไต
2. เนื้อไต ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
-เนื้อไตชั้นนอก--> คอร์เทกซ์ (Cortex)ประกอบด้วยกลุ่มเส้นเลือดฝอยเรียกว่า โกลเมอรูลัส (Glomerulus) และถุงโบว์แมนส์แคบซูล (Bowman's Capsule) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกรองของเสียออกจากเลือด และเป็นที่อยู่ของท่อหน่วยไตส่วนต้น (Proximal convoluted tubule) และท่อหน่วยไตส่วนปลาย (Distal convoluted tubule) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยไต (Nephron)
-เนื้อไตชั้นใน--> เมดัลลา (medulla)มีสีจางกว่าเนื้อไตชั้นนอก มีลักษณะเป็นเส้น ๆ หรือหลอดเล็ก ๆ รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ น้ำปัสสาวะจะส่งเข้าสู่กรวยไต
3. กรวยไต (Renal pelvis) ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำปัสสาวะและส่งต่อไปสู่ท่อไต (Ureter) นำเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและส่งต่อไปยังท่อปัสสาวะ



    ไตแต่ละข้างจะประกอบด้วยหน่วยไต หรือเนฟรอน (Nephron)ประมาณ 1 ล้านหน่วย เป็นหน่วยย่อยที่ทำหน้าที่สร้างน้ำปัสสาวะ (Functional unit) โดยหน่วยไต (Nephron) แต่ละอันประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
    1. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกรอง(Filtering unit)ซึ่งประกอบด้วย
    - โกลเมอรูลัส (Glomerulus) --> กลุ่มหลอดเลือดฝอย (Glomerulus capillaries) ที่ขดรวมกันอยู่ในโบว์แมนส์แคบซูล (Bowman's capsule) ทำหน้าที่กรองสารออกจากพลาสมาให้เข้ามาในท่อหน่วยไต
    - โบว์แมนส์แคบซูล (Bowman's capsule) --> ส่วนต้นของท่อหน่วยไต มีลักษณะคล้ายถ้วย ของเหลวที่กรองได้จะผ่านเข้ามายังบริเวณนี้
    2. ส่วนท่อของหน่วยไต (Renal tubule)ประกอบด้วยท่อส่วนต่าง ๆ ดังนี้
    - ท่อขดส่วนต้น (Proximal convoluted tubule) เป็นส่วนถัดจากโบว์แมนส์แคบซูล (Bowman’s capsule)ขดไปมาอยู่ในชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex) เป็นบริเวณที่มีการดูดกลับสารต่างๆ เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดมากที่สุด
    - ห่วงเฮนเล (Henle’s loop) หลอดโค้งรูปตัวยู ยื่นเข้าไปในชั้นเมดัลลา (Medulla) ประกอบด้วย ท่อขาลง ( Discending) และท่อขาขึ้น (Ascending)
    - ท่อขดส่วนปลาย (Distal convoluted tubule) ถัดจาก Henle’s loop เป็นท่อขดไปมาในชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex) และเปิดรวมกันที่ท่อรวม (Cellecting tubule)
    - ท่อรวม (Collecting duct) ต่อกับท่อขดส่วนปลาย ทำหน้าที่นำน้ำปัสสาวะส่งต่อไปยังกรวยไต (Pelvis) ท่อไต (Ureter) กระเพาะปัสสาวะ (Urenary bladder) และท่อปัสสาวะ (Urethra) ตามลำดับ

    หน่วยไตทำหน้าที่ในการสร้างน้ำปัสสาวะ (Urine formation) ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การกรองสารที่โกลเมอรูลัส (Glomerular filtration) การดูดสารกลับที่ท่อหน่วยไต (Tubular reabsorption) และการหลั่งสารโดยท่อหน่วยไต (Tubular Secretion)


    การกรองสารที่โกลเมอรูลัส(Glomerular filtration / Ultrafiltration)
    - เป็นกระบวนการแรกที่สร้างน้ำปัสสาวะ
    - แต่ละนาทีจะมีเลือดเข้าสู่ไตจำนวน 1200 ml เลือดกรองผ่านโกลเมอรูลัส ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเยื่อกรอง ของเหลวที่ผ่านจากการกรอง เรียกว่า Glomerular Filtrate หรือ Ultrafiltrate ได้แก่ น้ำ ยูเรีย กลูโคส โซเดียมคลอไรด์ เกลือแร่ต่าง ๆ จะเข้าสู่โบว์แมนส์แคปซูลประมาณ 125 ml หลังจากนั้นเลือดจะออกจากโกลเมอรูลัสไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของท่อหน่วยไต และเปลี่ยนเป็นเลือดดำแล้วออกจากไตไปทางหลอดเลือดรีนัลเวน
    - การกรองอาศัยแรงดันของของเหลวในเส้นเลือดฝอยบริเวณโกลเมอรูลัส โดยเยื่อกรองจะยอมให้น้ำและสารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กกว่ารู เช่น ยูเรีย โซเดียม กลูโคส ผ่านออกมาได้ แต่จะไม่ยอมให้สารขนาดใหญ่ผ่าน เช่น เซลล์เม็ดเลือด โปรตีน ไขมัน
    - ในคนปกติพบว่าพลาสมาจะถูกกรองประมาณวันละ 180 ลิตร แต่มีปัสสาวะออกมาเพียง 1.5-2 ลิตร ซึ่งเป็นเพียง 1% จะถูกขับออกมา อีก 99 % ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์จะถูกดูดกลับหมด

    การดูดสารกลับที่ท่อหน่วยไต(Tubular reabsorption)
    - ท่อขดส่วนต้น เกิดการดูดกลับมากที่สุด (ประมาณ 80%) มีการดูดกลับแบบใช้พลังงาน (Active transport) ได้แก่ กลูโคส โปรตีนโมเลกุลเล็ก กรดอะมิโน วิตามิน Na+K+และการดูดกลับแบบไม่ใช้พลังงาน (Passive transport) ได้แก่ ยูเรีย น้ำ Cl-HCO-3
    - ห่วงเฮนเล (Henle’s loop)ท่อขาลงจะเกิดการเคลื่อนที่ของน้ำออกจากห่วงเฮนเลโดยกระบวนการออสโมซิสท่อขาขึ้นจะมีการดูด NaCl กลับทั้งแบบไม่ใช้พลังงานและแบบใช้พลังงาน และผนังส่วนขาขึ้นนี้มีคุณสมบัติไม่ยอมให้น้ำผ่าน (Impermeable)
    - ท่อขดส่วนปลาย มีการดูดน้ำกลับแบบไม่ใช้พลังงาน โดยการควบคุมของฮอร์โมน ADH (Antidiuretic hormone) ส่วน NaCl และ HCO-3จะถูกดูดกลับแบบใช้พลังงาน โดยการควบคุมของฮอร์โมน Aldosterone
    - ท่อรวม (Collecting tubule) มีการดูดน้ำกลับแบบไม่ใช้พลังงาน ดูดกลับของ Na+แบบใช้พลังงาน และยอมให้ยูเรียแพร่ออก โดยการดูดกลับ อยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมน ADH

    การหลั่งสารโดยท่อหน่วยไต(Tubular Secretion)
    - เป็นการขนส่งสารจากเลือดเข้าไปยังท่อหน่วยไต ที่ท่อขดส่วนต้น มีการหลั่งสารหลายชนิด เช่น H+K+NH+3และที่บริเวณท่อหน่วยไตส่วนปลายมีการหลั่ง H+K+ยาและสารพิษบางชนิด



    - เมื่อน้ำในเลือดน้อยทำให้ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มมากขึ้นทำให้แรงดันออสโมติกของเลือดสูงขึ้น ไปกระตุ้นตัวรับรู้ (Receptor) การเปลี่ยนแปลงแรงดันออสโมติกในสมองส่วนไฮโพทามัส และต่อมใต้สมองส่วนท้าย (Posterior lobe of piuitary gland) ปล่อยฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic hormone; ADH หรือ Vasopressin) ส่งไปยังท่อหน่วยไตส่วนปลายและท่อรวม ทำให้เกิดการดูดน้ำกลับเข้าสู่เลือดมากขึ้น ปริมาตรของเลือดมากขึ้นพร้อมกับขับน้ำปัสสาวะออกน้อยลง นอกจากนี้ภาวะที่มีการขาดน้ำของร่างกายยังกระตุ้นศูนย์ควบคุมการกระหายน้ำในสมองส่วนไฮโพทาลามัสทำให้ เกิดการกระหายน้ำ เมื่อดื่มน้ำมากขึ้นแรงดันออสโมติกในเลือดจึงเข้าสู่สภาวะปกติ

    - แอลโดสเตอโรน (Aldosterone) จากต่อมหมวกไตกระตุ้นให้มีการดูดกลับ โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสเฟต โดยสารดังกล่าวกลับเข้าสู่กระแสเลือด
    - ไตช่วยรักษาสมดุลของกรด-เบสในร่างกายด้วยการขับไฮโดรเจนไอออนออก และดูดซึมไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนกลับจากท่อไตที่ท่อขดส่วนต้นและส่วนปลาย
    โรคนิ่ว (Calculus) --> เกิดจากตะกอนของแร่ธาตุต่าง ๆ ในน้ำปัสสาวะรวมตัวเป็นก้อนอุดตันในท่อปัสสาวะ อาจจะเกิดการอักเสบติดเชื้อ หรือ การบริโภคผักบางชนิด เช่น ใบชะพลู ผักโขม เป็นต้น ซึ่งมีสารออกซาเลตสูงทำให้มีโอกาสเป็นนิ่วได้ง่าย รักษาโดยการใช้ยา ผ่าตัด หรือสลายนิ่วโดยใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูง (Ultra sound) ป้องกันได้โดยการรับประทานอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งฟอสฟอรัสช่วยไม่ให้สารพวกออกซาเลตจับตัวเป็นก้อนนิ่ว และควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีออกซาเลตสูง นอกจากนี้การดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ อาจทำให้ก้อนนิ่วขนาดเล็กออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะได้
    โรคไตวาย (Renal failure) --> ไตสูญเสียการทำงาน ทำให้ของเสียจะถูกสะสมอยู่ในร่างกายไม่สามารถขับถ่ายออกทางน้ำปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการรักษาสมดุลน้ำ แร่ธาตุ และความเป็นกรด-เบส ของสารในร่างกาย หรืออาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่รุนแรง การสูญเสียเลือดจำนวนมาก หรืออาจเกิดจากการเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน รักษาโดยการควบคุมชนิดและปริมาณของอาหาร ใช้ยา หรือการฟอกเลือดโดยใช้ไตเทียม (Artificial kidney)
    (https://www.scimath.org/lesson-biology/item/6993-excretory-system)

    วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

    ภูมิคุ้มกัน


    ภูมิคุ้มกัน


    ภุมิคุ้มกัน(immunity)หมายถึง กลไกของร่างกายที่ต้านทานต่อโรคใด

    โรคหนึ่ง โดยภูมิคุ้มกันอาจเกิดเพียงชั่วคราวหรือตลอดไปก็ได้ 

    ภูมิคุ้มกันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
    1. ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ตามธรรมชาติ (innate immunity/ natural immunity) ภูมิคุ้มกันเเบบนี้มีมาตั้งเเต่เกิด โดยทารกที่มีอายุครรภ์ 5 สัปดาห์ จะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้เอง เเต่ยังสร้างได้น้อยมาก เนื่องจากเริ่มมีการเจริญของอวัยวะน้ำเหลือง
    2. ภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังคลอดโดยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
    2.1 ภูมิคุ้มกันก่อเอง (active immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายได้รับแอนติเจน หรือเชื้อโรคที่อ่อนกำลังลงซึ่งไม่ทำอันตรายต่อสุขภาพ โดยนำมาฉีด กิน หรือทาที่ผิวหนัง กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันขึ้น เช่น การฉีดวัคซีนไอกรน โปลิโอ วัณโรค ไทฟอยด์ เป็นต้น

    2.2 ภูมิคุ้มกันรับมา (passive immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้มาจากการสกัดจากเลือดของสิ่งมีชีวิต แล้วนำมาฉีดให้ร่างกายต้านทานโรคได้ทันที เช่น เซรุ่มแก้พิษงู เซรุ่มโรคพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก คอตีบ เป็นต้น หรือได้รับภูมิคุ้มกันจากเเท่ตังเเต่อยู่ในครรภ์ เเละเมื่อคลอดออกมาจะได้รับภูมิคุ้มกันจากน้ำนมเเม่ แต่ภูมิคุ้มกันในน้ำนมเเม่จะลดลงหลังจากคลอดได้ 6 เดือนจึงทำให้ทารกติดเชื้อได้ง่ายในระยะนี้

    ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันโรค
             

                - เอดส์  (AIDS)  ย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency syndrome  หมายถึง  กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อม  หรือบกพร่อง  อันเกิดจากเชื้อไวรัส HIV  (Human  Immunodificiency  Virus)  โดยจะมีผลไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว  ทำให้ร่างกายอ่อนแอ  เจ็บป่วยบ่อยรักษาไม่หาย  ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง  หรือมะเร็งในที่สุดก็จะตายด้วยโรคเรื้อรังนั้น


              - โรคที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อของตัวเอง  หมายถึง  ปฏิกิริยาของภูมิต้านทานที่มีต่อแอนติเจน  (เซลล์หรือเนื้อเยื่อ)  ของตนเอง  จึงเกิดความผิดปกติขึ้นในร่างกาย  เช่น  
                  โรคของต่อมไทรอยด์  
                  โรคตับ 
                  โรคเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย  (โลหิตจางบางชนิด)      
           
              - โรคภูมิแพ้  (Allergy)  หมายถึง  ปฏิกิริยาที่ผิดปกติของร่างกายในการสร้างแอนติบอดี  เพื่อตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมในสิ่งแวดล้อม  (แอนติเจน)  โรคนี้เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม  เช่น  การแพ้ละอองเกสร  หืด  แพ้อาหารบางอย่าง  (ช็อกโกแลต, อาหารทะเล)  แพ้ยา  และสารเคมี   พิษแมลงต่างๆ (ผึ้ง) สารเคมีของอาการแพ้  คือ  สารฮีสเตมีน  แม้จะไม่รุนแรงต่ออาการต่อเนื่องต้องให้การรักษาตลอดเวลาปีหนึ่งๆ ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคภูมิแพ้จำนวนมาก 
          





    💖💖💖💖💖💖 เป็นอย่างไรกันบ้างคะ  นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันแล้วนะคะ ใครที่คิดว่ายากก็ขอให้หมั่นอ่านทบทวนบ่อยๆ นะคะ ชัยชนะเป็นของนักเรียนที่หมั่นฝึกฝนแน่นอนค่ะ สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

    ระบบน้ำเหลือง

    ระบบน้ำเหลือง


                                   ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบลำเลียงที่ช่วยลำเลียงสารต่างๆให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะอาหารจำพวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก เป็นระบบที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยสร้างเม็ดเลือดขาว 
                    ระบบน้ำเหลืองจะไม่มีอวัยวะสำหรับสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ


    ส่วนประกอบของระบบน้ำเหลือง

    แบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่

    1. ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) : 
        
             เป็นศูนย์กลางผลิตเซลล์ที่ใช้ในการต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม กรองแบคทีเรียไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือด 
             พบได้ตามบริเวณจุดรวมของหลอดน้ำเหลืองทั่วร่างกาย เช่น รักแร้ ขาหนีบ โดยต่อมน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า อวัยวะน้ำเหลือง (Lymph organ) เช่น

           1.1 ต่อมทอนซิล (Tonsil gland) : 
           



           ต่อมทอนซิลอยู่ใกล้คอหอย มี3 คู่ เป็นด่านสกัดไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่หลอดอาหารและกล่องเสียงมี Lymphocyte ดักจับทำลายแบคทีเรีย 

           ถ้าต่อมทอนซิลติดเชื้อจะมีอาการบวมขึ้น 
    เรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ

           1.2 ต่อมไทมัส (Thymus gland) : 
          

           จะมีขนาดใหญ่ตอนอายุยังน้อย และเมื่ออายุมากขึ้นจะค่อยๆ เล็กลงและฝ่อไปในที่สุด 
           
          เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณทรวงอกรอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจ มีหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที (T-Lymphocyte / T-cell)
       
          นอกจากนี้ยังสร้างฮอร์โมนได้ด้วย


         1.3 ม้าม (Spleen) : 






          ม้ามเป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุดมีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก ภายในมี Lymphocyte จำนวนมากเช่นกัน แต่ไม่มีท่อน้ำเหลือง สามารถยืดหดตัวได้ มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว มีหน้าที่สำคัญ คือ
     
         1.3.1 สร้างแอนติบอดี (Antibody)

         1.3.2 ทำลายเมล็ดเลือดแดง,เมล็ดเลือดขาว 
                   และเกร็ดเลือดที่หมดอายุแล้ว

         1.3.3 สร้างเมล็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ 
                  (Lymphocyte) และโมโนไซต์ 
                  (Monocyte)

         1.3.4 สร้างเม็ดเลือดแดงให้ทารกก่อนคลอด 
                  และในภาวะผิดปกติ จะสร้างเม็ดเลือดแดง
                 ได้ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือด



    2. ท่อน้ำเหลือง (Lymph duct) : 


                 ท่อน้ำเหลืองเป็นท่อตันขนาดต่างๆ มีทั่วร่างกาย มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดดำ คือ มีลิ้นป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำเหลือง 
                 มีหน้าที่นำน้ำเหลืองเข้าสู่เลือดดำในระบบหมุนเวียนเลือด มีทิศทางไหลเข้าสู่หัวใจ




    3. น้ำเหลือง (Lymph) : 
       
               น้ำเหลืองเป็นของเหลวที่ซึมผ่านเส้นเลือดฝอย (Capillary) ออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรืออยู่รอบๆเซลล์ 
               ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสารต่างๆระหว่างเซลล์กับหลอดเลือดฝอยเพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ 
              น้ำเหลืองมีส่วนประกอบคล้ายพลาสมาแต่มีโปรตีนน้อยกว่า


    การไหลของน้ำเหลือง

    1. การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ที่จะไปกด
        หรือคลายท่อน้ำเหลือง

    2. ความแตกต่างระหว่างความดันไฮโดรสเตติก 
        ท่อน้ำเหลืองขนาดเล็กมีมากกวาท่อน้ำเหลือง
       ขนาดใหญ่

    3. การหายใจเข้า มีผลในการขยายทรวงอกและลด
        ความดันทำให้ท่อน้ำเหลืองขยายตัว



                                                💖💖💖💖💖💖 

            เป็นอย่างไรกันบ้างคะ  นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบน้ำเหลือง
    กันแล้วนะคะ ใครที่คิดว่ายากก็ขอให้หมั่นอ่านทบทวนบ่อยๆ นะคะ
    ชัยชนะเป็นของนักเรียนที่หมั่นฝึกฝนแน่นอนค่ะ สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ