กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอม
ร่างกาย ซึ่งอาจจะเข้าทางผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร
หรือเข้าทางเดินระบบหมุนเวียนเลือด ร่างกายจำเป็นต้องมีกลไก
ต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย
ต่อร่างกาย ซึ่งแบ่งได้เป็น
1. แบบไม่จำเพาะ(nonspecific defense)
2. แบบจำเพาะ(specific defense)
ด่านป้องกันเชื้อโรคร่างกาย
ด่านป้องกันเชื้อโรคของร่างกายด่านแรก คือ ผิวหนัง ซึ่งสามารถขับกรดบางชนิดออกมากับเหงื่อช่วยในการยับยั้งแบคทีเรีย น้ำตาและน้ำลายก็มีฤทธิ์ทำลายเชื้อโรคได้ ในระบบทางเดินอาหารก็มีกรดเเละเมือกคอยกำจัดเชื้อโรค รวมทั้งเมือกที่อยู่ในระบบหายใจด้วยเช่นกัน
กลไกการต่อต้านและทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะ
ด่านป้องกันเชื้อโรคของร่างกายด่านแรก คือ ผิวหนัง ซึ่งสามารถ
ขับกรดบางชนิดออกมากับเหงื่อช่วยในการยับยั้งแบคทีเรีย น้ำตาและ
น้ำลายก็มีฤทธิ์ทำลายเชื้อโรคได้ในระบบทางเดินอาหารก็มีกรดเเละ
เมือกคอยกำจัดเชื้อโรค รวมทั้งเมือกที่อยู่ในระบบหายใจด้วยเช่นกัน
ผิวหนังมีเคอราตินซึ่งเป็นโปรตีนที่ไม่ละลายน้ำเป็นองค์
ประกอบอัดแน่นภายในเซลล์และเซลล์เรียงตัวกันหลายชั้น
ช่วยป้องกันการเข้าออกของสิ่งต่างๆ ได้
ผิวหนังบางบริเวณยังมีต่อมเหงื่อและต่อมไขมันหลั่งสาร
บางชนิด เช่น กรดไขมัน กรดแลกติก ทำให้ผิวหนังมีสภาพเป็นกรด
ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิด
นอกจากนี้ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ท่อปัสสาวะ
ช่องคลอด ซึ่งติดต่อกับภายนอกยังมีเยื้อบุที่ทำหน้าที่ควบคุม
การเข้าออกของสาร มีการสร้างเมือกและมีซิเลียคอยดักจับ
สิ่งแปลกปลอมและพัดพาออกนอกร่างกาย และพบว่าในน้ำตา
น้ำลาย ยังมีไลโซไซม์ ที่ช่วยทำลายเชื้อโรคบางชนิดได้
ในกระเพาะอาหารมีสภาพเป็นกรดและมีเอนไซม์ช่วยย่อย
และทำลายจุลินทรีย์บางชนิดได้
แต่ถ้าสิ่งแปลปลอมผ่านด่านป้องกันดังกล่าวข้างต้นเข้าสู่
ร่างกายได้ ร่างกายก็จะมีวิธีการต่อต้านและทำลายสิ่งแปลกปลอม
โดยกระบวนการฟาโกไซโทซิสของเซลล์เม็ดเลือดขาวพวกโมโน
ไซต์ซึงออกจากกระแสเลือดไปยังเนื้อเยื่อและมีขนาดใหญ่ขึ้น
กลายเป็นแมโครฟาจ และยังมีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล
กับอิโอซิโนฟิลช่วยทำลายจุลินทรีย์ต่างๆ ด้วย
การอักเสบเป็นกระบวนการต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม
ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยผ่านกลไกต่างๆ เพื่อยับยั้งและ
ดึงดูดองค์ประกอบต่างๆ ของระบบภูมิคุ้มกันมายังบริเวณนั้น เช่น
การอักเสบของบาดแผลที่ติดเชื้อ จะมีอาการปวดบวมแดง ร้อน
ปรากฏให้เห็น
กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ
กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ
จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์
ได้แก่ เซลล์บี และเซลล์ที
การทำงานของเซลล์บี
เมื่อแอนติเจนถูกทำลายด้วยวิธีฟาโกไซโทซิส
ชิ้นส่วนที่ถูกทำลายจะไปกระตุ้นให้เซลล์บีเพิ่มจำนวน
เซลล์บีบางเซลล์จะขยายขนาดและเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่
สร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนเรียกว่า เซลล์พลาสมา
(plasma cell)
เซลล์ที่ได้จากเซลล์บีแบ่งตัวบางเซลล์จะทำหน้าที่เป็น
เซลล์เมมเมอรี(memory cell) คือจะจดจำแอนติเจนนั้นๆ ไว้
ถ้าแอนติเจนนี้เข้าสู่ร่างกายอีก เซลล์เมมเมอรีก็จะแบ่งตัว
อย่างรวดเร็ว และเจริญเป็นเซลล์พลาสมาสร้างแอนติบอดีออกมา
ทำลายแอนติเจน
การทำงานของเซลล์ที
เซลล์ทีจะรับแอนติเจนแต่ละชนิด เช่น เซลล์ทีบางตัวจะรับ
แอนติเจนที่เป็นไวรัสตับอักเสบ เซลล์ทีบางตัวจะรับรู้แอนติเจนที่
เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น เซลล์ทีตัวแรกที่ตรวจจับแอนติเจน
เรียกว่า เซลล์ทีผู้ช่วย (helper T-cell หรือ CD4+) จะไปทำหน้าที่
กระตุ้นเซลล์บีให้สร้างแอนติบอดีต่อต้านแอนติเจน หรือกระตุ้น
การทำงานของเซลล์ทีอื่น เช่น เซลล์ทีที่ทำลายสิ่งแปลก
ปลอม (cytotoxic T-cell หรือ CD8+) เซลล์ทีชนิดนี้จะทำลายเซลล์
แปลกปลอม หรือเซลล์ที่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น เซลล์มะเร็ง
เซลล์ติดเชื้อไวรัส เซลล์จากอวัยวะ ที่ร่างกายได้รับการปลูกถ่าย
เซลล์ทีบางเซลล์ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
เรียกว่า เซลล์ทีกดภูมิคุ้มกัน(suppressor T-cell) โดยสร้างไปกด
การทำงานของเซลล์บีและเซลล์ทีอื่นๆ
💖💖💖💖💖💖 เป็นอย่างไรกันบ้างคะ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมกันแล้วนะคะ ใครที่คิดว่ายากก็ขอให้หมั่นอ่านทบทวนบ่อยๆ นะคะ ชัยชนะเป็นของนักเรียนที่หมั่นฝึกฝนแน่นอนค่ะ สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ
เนื้อหาคลอบคลุม สรุปได้ดีมากค่ะ อ่านง่าย ตัวหนังสือใหญ่ทำให้อ่านง่ายขึ้นค่ะ (นางสาวสุดารัตน์ ยอดเกตุ ชั้นม 4/2 เลขที่9)
ตอบลบเนื้อหาน่าอ่านดีค้ะ อ่านงานค้ะ มีสีสันสวยงาม รูปภาพประกอบดีค้ะ นางสาวศิริประภา พูนพันธ์ ม.4/2 เลขที่19
ตอบลบสรุปได้ง่ายดีค่ะ อ่านง่ายและเข้าใจมากค่ะ
ตอบลบนางสาว มาริสา หอมหวล 4/2เลขที่28
เนื้อหาดีมากค่ะ อ่านเข้าใจง่ายค่ะ น.ส.อุษา ดีขุนทด ชั้น ม.4/2 เลขที่ 31
ตอบลบเนื้อหาอ่านเข้าใจง่ายค่ะ น.ส ฐิติมา ยันพิมาย ชั้นม.4/2 เลขที่27
ตอบลบอ่านง่ายดีค่ะ
ตอบลบนางสาวจิราภรณ์ กลีบพิมาย ม.4/2 เลขที่5
เนื้อหาน่าเรียนมากครับ
ตอบลบนายโอเบอรอน ไร่พิมาย ม.4/2 เลขที่25
อ่านง่ายครับ นายพีรวุฒิิพลไธสง ชั้นม.4/2 เลขที่24
ตอบลบเนื้อหาละเอียดอ่านแล้วเข้าใจง่ายมากค่ะ..
ตอบลบน.ส.ลลิตา งามพิมาย ม.4/2 เลขที่8
อ่านเเล้วเข้าใจ ดีค่ะมีสีสันประกอบสวยดี น.สปาริชาต นาคำ ม.4/2 เลขที่6
ตอบลบอ่านง่ายเนื้อหาดีค่ะ
ตอบลบนางสาวปิ่นอุมา ค้าสบาย ชั้นม.4/2เลขที่14
เนื้อหาดี มีรูปภาพประกอบ น่าเข้าไปอ่านดีค่ะ นส.ณัฐธิดา พิมพ์เงิน ม.4/2 เลขที่13
ตอบลบ
ตอบลบเนื้อหาดี อ่านเข้าใจง่าย
นายอัษฎาวุธ .คละดี ม.4/2 เลขที่12
เนื้อหาดีค่ะ อ่านง่ายและมีภาพประกอบ จำง่ายขึ้น ทำให้ได้ความรู้ดีขึ้นค่ะ นางสาวจิรัชญา จาระงับ ม.4/2 เลขที่26
ตอบลบเนื้อหาดีเข้าใจง่าย สรุปได้ถึงเนื้อหาดีค่ะ
ตอบลบน.ส.ศศิกานต์ อินทชัย ม.4/1 เลขที่18
เนื้อหา อ่านง่าย เข้าใจง่ายดีค่ะ น.ส.รุ่งทิพย์ บังพิมาย ชั้น4/2 เลขที่18
ตอบลบอ่านง่ายเข้าใจง่ายค่ะ น.ส.เเวววิไล จันอ่อน เลขที่29 ชั้นม.4/2
ตอบลบอ่านง่ายเข้าใจดีค่ะ น.ส. ลัลน์ลลิต หมั่นพิมาย ชั้นม.4/2 เลขที่16
ตอบลบอ่านสบายตา เข้าใจง่ายค่ะ น.ส. รุ่งนภา อดทน เลขที่15 ชั้นม.4/2
ตอบลบเข้าใจง่าย เนื้อหาดี ขอบคุณค่ะ
ตอบลบนางสาววสิตา จรูญไธสง ม.4/1 เลขที่11
เนื้อหาน่าอ่าน เข้าใจง่าย นางสาวอัญจิมา บุราชกัง ม.4/2 เลขที่10
ตอบลบเนื้อหาอ่านง่าย สรุปได้ใจความดีค่ะ
ตอบลบน.ส.ปานณภัทร เกตุแก้ว เลขที่8 ม.4/1
เนื้อหาเข้าใจง่าย
ตอบลบน.สธันย์ชนก เรี่ยวแรง ม.4/1 เลขที่5
เข้าใจง่ายค่ะ เสาวิภา วาริน ม.4/1 เลขที่17
ตอบลบ
ตอบลบเนื้อหาดีเข้าใจง่าย สรุปได้ถึงเนื้อหาดีค่ะ
น.ส.สุดารัตน์ แคะสูงเนิน ม.4/1 เลขที่12
เนื้อหาน่าสนใจมากๆค่ะอ่านเข้าใง่าย
ตอบลบนส.สุกัญญา สาสุข
ม.4/1เลขที่16
เนื้อหาเข้าใจง่าย มีสีสัน มีรูปภาพประกอบอ่านแล้วได้ความรู้มากขึ้นค่ะ
ตอบลบ(น.ส.ปภัสสา จริงพิมาย ม.4/1 เลขที่21)
เนื้อหาดีมากๆค่ะ อ่านแล้วเข้าใจดีค่ะ นางสาวอณุชิดา พวงเพชร เลขที่23 ชั้น ม.4/1
ตอบลบอ่านแล้วเข้าใจมากครับ เนื้อหาครบถ้วนดีครับ นายซุนเยก ฮิบาตะ ม.4/3 เลขที่ 14
ตอบลบดีมากครับขอบคุณครับ
ตอบลบ