วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กระบวนการย่อยอาหารของมนุษย์

กระบวนการย่อยอาหารของมนุษย์


       
         อหารที่สิ่งมีชีวิตบริโภคเข้าไป  ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม จะนำเข้าสู่เซลล์ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในรูปของสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก คือ 
         - กรดอะมิโน  
         - น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 
         - กลีเซอรอล และกรดไขมัน  
        
        นั่นก็คือ  อาหาร โมเลกุลใหญ่ที่สิ่งมีชีวิตรับประทานเข้าไป  จำเป็นต้องแปรสภาพให้มีขนาดเล็กลง  การแปรสภาพของอาหารดังกล่าวเกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่อาศัยการทำงานของเอนไซม์ย่อยอาหาร โดยทั่วไปเรียกว่า  น้ำย่อย จากนั้นโมเลกุลของสารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ กระบวนการแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียกว่า  การย่อยอาหาร (Digestion)

ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) 





(http://arkungning.blogspot.com/2014/01/digestive-system.html)



              ระบบย่อยอาหารมีหน้าที่ย่อยอาหารให้ละเอียด  แล้วดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
             
              การย่อยอาหาร (Digestion)  หมายถึง  กระบวนการสลายอนุภาคอาหารให้มีขนาดเล็กสุด จนสามารถดูดซึมเข้าไปในเซลล์ได้เมื่อมนุษย์รับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกาย จะผ่านระบบต่าง ๆ ดังนี้

              1. ปาก
              2. หลอดอาหาร
              3. กระเพาะอาหาร
              4. ลำไส้เล็ก
              5. ลำไส้ใหญ่
              6. ของเสียออกทางทวารหนัก




ขั้นตอนการย่อยอาหาร
การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน
   
      1. การย่อยเชิงกล (Mechanical  digestion) เป็นกระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนที่และการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไป โดยการบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร ยังไม่สามารถทำให้อาหารมีขนาดเล็กสุด  จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าเซลล์ได้

      2. การย่อยทางเคมี (Chemical  digestion)  เป็นการย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กที่สุด  โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่าง อาหาร กับ น้ำ โดยตรง และจะใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยเข้าเร่งปฏิกิริยา

      ผลจากการย่อยทางเคมีเมื่อถึงจุดสุดท้าย จะได้สารโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้  ซึ่งอาหารที่ต้องมีการย่อย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ส่วนเกลือแร่ และวิตามินจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง





อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร

     1. ต่อมน้ำลาย (Salivary  Gland)  ผลิตน้ำย่อยอะไมเลส (Amylase) หรือไทยาลิน (Ptyalin) ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส


        
          
            2. กระเพาะอาหาร (Stomach) ผลิตน้ำย่อยเพปซิน ย่อยโปรตีนให้เป็นโปรตีนสายสั้น (เพปไทด์) และน้ำย่อยเรนนิน ย่อยโปรตีนในนมให้เป็นโปรตีนที่มีลักษณะเป็นลิ่มๆ 

                                  (https://kr.123rf.com/photo)

        3. ลำไส้เล็ก (Small  Intestine)  ผลิตน้ำย่อยมอลเทส ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส น้ำย่อยซูเครส ย่อยน้ำตาลซูโครสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟรักโทส น้ำย่อยแลกเทส ย่อยน้ำตาลแลกโทสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลกาแลกโตส น้ำย่อยอะมิโนเพปทิเดส  ย่อยโปรตีนสายสั้นให้เป็นกรดอะมิโน


(https://socratic.org/questions/what-are-dimensions-of-the-small-intestine-what-are-reasons-to-explain-why-the-s)

          4. ตับ  (Liver)   ผลิตน้ำดี ย่อยไขมันให้เป็นไขมันแตกตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ


 (https://share.upmc.com/2015/09/what-does-the-liver-do-for-the-body/)


             5. ตับอ่อน (Pancreas) ผลิตน้ำย่อยลิเพส  ย่อยไขมันแตกตัวให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล น้ำย่อยทริปซิน ย่อยโปรตีนให้เป็นพอลิเพปไทด์และไดเพปไทด์ น้ำย่อยคาร์บอกซิเพปพิเดส ย่อยเพปไทด์ให้เป็ฯกรดอะมิโน น้ำย่อยอะไมเลส ย่อยเช่นเดียวกับน้ำย่อยอะไมเลสในปาก

(https://sciencetranslationblog.wordpress.com/2015/11/26/how-to-make-non-insulin-pancreatic-cells-pump-out-insulin-use-a-protein-from-bone/adam-pancrease/)

 ต่อมน้ำลาย

          ต่อมน้ำลาย (Silvary Gland) เป็นต่อมมีท่อ  ทำหน้าที่ผลิตน้ำลาย (Saliva) ต่อมน้ำลายของคนมีอยู่ 3 คู่ คือ  
                    1.  ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Sublingual  Gland) 1 คู่    2.  ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง (Submandibulary Gland) 1 คู่    3.  ต่อมน้ำลายข้างกกหู (Parotid Gland)  1 คู่



            ต่อมน้ำลายทั้ง 3 คู่นี้ ทำหน้าที่สร้างน้ำลายที่มีเอนไซม์อะไมเลส  ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยสารอาหารจำพวกแป้งเท่านั้น

ความสำคัญของน้ำลาย

     1. เป็นตัวหล่อลื่น และทำให้อาหารรวมกันเป็นก้อน เรียกว่า โบลัส (Bolus)
     2. ช่วยทำความสะอาดปากและฟัน
     3. มีเอนไซม์ช่วยย่อยแป้ง
     4. ช่วยทำให้ปุ่มรับรสตอบสนองต่อรสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขมได้ดี

การย่อยในปาก

         เริ่มต้นจากการเคี้ยวอาหารโดยการทำงานร่วมกันของ ฟัน ลิ้น และแก้ม ซึ่งถือเป็นการย่อยเชิงกล ทำให้อาหารกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ  มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับเอนไซม์ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันต่อมน้ำลายก็จะหลั่งน้ำลายออกมาช่วยคลุกเคล้าให้อาหารเป็นก้อนลื่นสะดวกต่อการกลืน  

           เอนไซม์ในน้ำลาย คือ ไทยาลิน หรืออะไมเลสจะย่อยแป้งในระยะเวลาสั้น ๆ ในขณะที่อยู่ในช่องปากให้กลายเป็นเดกซ์ทริน (Dextrin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กกว่าแป้ง แต่ใหญ่กว่าน้ำตาล  และถูกย่อยต่อไปจนเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่   คือ มอลโตส



(https://555a45cc-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/sciencekanyanat/digestive-system-1/aa.jpg)



กระเพาะอาหาร


           ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่อัดกันหนามาก  ด้านในมีลักษณะเป็นสันช่วยในการบดอาหารให้มีขนาดเล็กลงอีก  ผนังด้านในสามารถสร้างเอนไซม์เพปซิโนเจน (Pepsinogen) และกรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ (HCI) 
           เพปซิโนเจนจะถูกกรดเกลือเปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นเอนไซม์เพปซิน (Pepsin) ซึ่งมีความสามารถในการย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียก่า เพปไทด์ (Peptide)  แต่ยังไม่สามารถดูดซึมได้


(https://biochemistryofdigestivesystem.wordpress.com/what-are-the-roles-of-the-chemicals-in-our-stomach/)

การย่อยในกระเพาะอาหาร

        อาหารจะถูกคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะด้วยการหดตัว  และคลายตัวของกล้ามเนื้อที่แข็งแรงของกระเพาะ 
       โปรตีนจะถูกย่อยในกระเพาะ โดยน้ำย่อยเพปซิน  ซึ่งย่อยพันธะบางชนิดของเพปไทด์เท่านั้น ดังนั้นโปรตีนที่ถูกเพปซินย่อยส่วนใหญ่จึงเป็นพอลิเพปไทด์ที่สั้นลง  
       ส่วนเรนนินช่วยเปลี่ยนเคซีน (Casein) ซึ่งเป็นโปรตีนในน้ำนมแล้ว  รวมกับแคลเซียมทำให้มีลักษณะเป็นลิ่ม ๆ จากนั้นจะถูกเพปซินย่อยต่อไป       ในกระเพาะอาหาร น้ำย่อยลิเพสไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากมีสภาพเป็นกรด  
       โดยปกติอาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารนาน 30 นาทีถึง 3 ชั่วโมง  ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารนั้น ๆ 
       กระเพาะอาหารก็มีการดูดซึมอาหารบางชนิดได้ แต่ปริมาณน้อยมาก เช่น น้ำ แร่ธาตุ  น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กระเพาะอาหารดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี   
       อาหารโปรตีน เช่น เนื้อวัว ย่อยยากกว่าเนื้อปลา ในการปรุงอาหารเพื่อให้ย่อยง่าย อาจใช้การหมักหรือใส่สารบางอย่างลงไปในเนื้อสัตว์เหล่านั้น เช่น ยางมะละกอ หรือสับปะรด




ลำไส้เล็ก

          ลำไส้เล็กเป็นทางเดินอาหารส่วนที่ยาวมาก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ดูโอดีนัม  เจจูนัม และไอเลียม  
         ที่ผนังลำไส้เล็กสามารถสร้างน้ำย่อยขึ้นมาได้ ซึ่งมีหลายชนิด นอกจากนั้นที่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม ยังได้รับน้ำย่อยจากตับอ่อน  และน้ำดีมาจากตับ น้ำย่อยจากตับอ่อนมีหลายชนิดที่สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรต  โปรตีนและไขมันได้

การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก

    1.ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ดังนี้ 

    -  มอลโทส  โดยเอนไซม์มอลเทส   ได้กลูโคส  2 โมเลกุล 
    -  ซูโครส โดยเอนไซม์ซูเครส  ได้กลูโคส  และฟรักโทส 
    -  แลกโทส โดยเอนไซม์แลกเทส ได้กลูโคส และกาแลกโทส 

    2.   ย่อยสารอาหารโปรตีนต่อจากกระเพาะอาหาร ได้แก่ เพปไทด์โดยเอนไซม์ทริปซินได้กรดอะมิโน ซึ่งเป็นโปรตีนโมเลกุลเดี่ยว
 
    3. ย่อยไขมัน โดยเอนไซม์ ลิเพส จะย่อยไขมันโมเลกุลเล็ก 
(emulsified fat) ให้เป็นไขมันโมเลกุลเดี่ยว ได้แก่  กรดไขมันและกลีเซอรอล

การดูดซึมอาหารในลำไส้เล็ก

          การดูดซึมอาหาร หมายถึง ขบวนการที่นำอาหารที่ผ่านการย่อยจนได้เป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน  กลีเซอรอล  ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  

          ลำไส้เล็ก  เป็นบริเวณที่ดูดซึมอาหารเกือบทั้งหมดเพราะเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์  และโครงสร้างภายในลำไส้เล็กก็เหมาะแก่การดูดซึม คือ ผนังลำไส้เล็กจะยาวพับไปมา  และมีส่วนยื่นของกลุ่มของเซลล์ที่เรียงตัวเป็นแถวเดียวมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ  เรียกว่า วิลลัส (Villus)  เป็นจำนวนมาก  ในแต่ละเซลล์ของวิลลัสยังมีส่วนยื่นของเยื่อหุ้มเซลล์ออกไปอีกมากมาย เรียกว่า ไมโครวิลลัส (Microvillus) ในคน  มีวิลลัสประมาณ 20-40 อันต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตรหรือประมาณ 5 ล้านอัน  ตลอดผนังลำไส้ทั้งหมด


การดูดซึมในลำไส้ใหญ่

          การดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ผนังลำไส้เล็ก ส่วนอาหารที่ไม่ถูกย่อยหรือย่อยไม่ได้ เช่น เซลลูโลส  ก็จะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่  ส่วนต้นของลำไส้ใหญ่มีไส้เล็ก ๆ ปลายตัน  เรียกว่า  ไส้ติ่ง  ไส้ติ่งของคนไม่ได้ทำหน้าที่อะไรแต่ก็อาจเกิดการอักเสบถึงกับต้องผ่าตัดไส้ติ่งออกไป   ซึ่งอาจเกิดจากการอาหารผ่านช่องเปิดลงไป หรือเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไส้ติ่งเกิดการอุดตัน 

          อาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก ซึ่งจะใช้ประโยชน์จากกากอาหารนี้ นอกจากนั้นแบคเทีเรียบางชนิดยังสังเคราะห์ วิตามินบางชนิด  เช่น วิตามินเค  วิตามินบี 12  

         เซลล์ที่บุผนังลำไส้ใหญ่ สามารถดูดน้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคสจากกากอาหารเข้ากระแสเลือด  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำ จึงทำให้กากอาหารข้นขึ้น  จนเป็นก้อนกากอาหารจะผ่านไปถึงไส้ตรง

         ท้ายสุดของไส้ตรงเป็นกล้ามเนื้อหูรูดแข็งแรงมาก มีลักษณะเป็นวงรอบปากทวารหนักทำหน้าที่บีบตัวในการขับถ่าย และผนังภายในลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหล่อลื่นก้อนอาหาร



น้ำดี  (Bile)  
   
           น้ำดีสร้างจากตับ (Liver)  แล้วถูกนำไปเก็บไว้ที่ ถุงน้ำดี (Gall  Bladder) ไม่ถือว่าเป็นเอนไซม์  เพราะจะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม  เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงแล้ว (น้ำดีไม่มีน้ำย่อย)  มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ

         1. เกลือน้ำดี  (Bile  Salt)  มีหน้าที่ตีให้ไขมัน (Fat)  แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ ไขมันที่ถูกตีให้แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ เรียกว่า อีมัลชั่น (Emulsion)  จากนั้นถูก  Lipase ย่อยต่อให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
         2. รงควัตถุน้ำดี (Bile  Pigment) เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โดยตับเป็นแหล่งทำลายและกำจัด Hemoglobin ออกจากเซลล์  เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ  โดยเก็บรวบรวมเข้าไว้เป็นรงควัตถุในน้ำดี (Bile  Pigment) คือ บิริรูบิน (Bilirubin)  จึงทำให้น้ำดีมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน  และจะถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาลโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เกิดเป็นใสในอุจจาระ
    
          3. โคเรสเตอรอล (Cholesterol)  ถ้ามีมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี  เกิดโรคดีซ่าน (Janudice)  มีผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมันบกพร่อง




           เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เนื้อหาในเรื่องนี้ค่อนข้างยากและซับซ้อนนะคะ แต่ครูเชื่อว่าไม่เกินความสามารถของเด็กๆ ค่ะ สู้ต่อไปนะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ




57 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาดีมากค่ะ เข้าใจง่ายมีรูปภาพประกอบทำให้เข้าใจได้ง่าย นางสาวธันย์ชนก เรี่ยวแรง ม.4/1เลขที่5

    ตอบลบ
  2. สุดยอดอิหลีครับ...โอ้เย้
    วิชชากร มาลัยนาค ม..4/1เลขที่1

    ตอบลบ
  3. เนื้อหายากค่ะ แต่พอมีรูปประกอบกับเนื้อหาที่สรุปให้ได้ใจความมากขึ้นและเข้าใจง่าย น.ส.นพรัตน์ สมทางดี ชั้น ม.4/1 เลขที่6

    ตอบลบ
  4. อ่านเข้าใจค่ะมีรูปประกอบการสอนทำให้รู้ว่าอวัยวะต่างๆอยู่ตรงส่วนไหนของร่างกายทำหน้าที่อะไรบ้าง
    น.ส.ศศิกานต์ อินทชัย ม4/1 เลขที่18

    ตอบลบ
  5. มีข้อมูลที่เข้าใจง่ายดี รูปภาพชัดเจนคะ มีการอธิบายละเอียด
    น.ส.ปานณภัทร เกตุแก้ว เลขที่8 ม.4/1

    ตอบลบ
  6. เรียนรู้เรื่องคะสนุกมากๆๆๆๆๆเลยคะ
    (สุดารัตน์ แคะสูงเนิน เลขที่12 ม.4/1)

    ตอบลบ
  7. ดีมากๆเลยคะ เนื้อหาแน่นเข้าใจง่าย และยังมีรูปภาพประกอบเนื้อหาทำให็รู้อะไรเยอะขึ้นด้วย
    น.ส.ปภัสสา จริงพิมาย ชั้นม.4/1 เลขที่21

    ตอบลบ
  8. อ่านแล้วเข้าใจดีมากครับสีสวยสบายตามากครับ

    ตอบลบ
  9. อ่านเข้าใจค่ะมีรูปประกอบการสอนทำให้รู้ว่าอวัยวะต่างๆอยู่ตรงส่วนไหนของร่างกายทำหน้าที่อะไรบ้าง
    น.ส.ศศิกานต์ อินทชัย ม4/1 เลขที่18

    ตอบลบ
  10. ก็ดีครับ อ่านเเล้วเข้าใจง่าย และสะดวกสบายต่อการศึกษา. ทัตพงศ์ กลางประพันธ์ เลขที่19 ม.4/1

    ตอบลบ
  11. เนื้อหาน่าสนใจมากๆเลยค่ะ รูปภาพน่าสนใจมาก
    มีประโยชน์แก่นักเรียนมากๆเลยค่ะ (นางสาวปิยธิดา อาจสุวรรณ ม.4/1 เลขที่9)

    ตอบลบ
  12. อ่านแล้วเข้าใจดีมากครับ
    ธีรภัทร ซื่อตรง ม.4/1 เลขที่14

    ตอบลบ
  13. อ่านแล้วเข้าใจง่าย เนื้อหาและรูปภาพน่าสนใจค่ะ (นางสาวพัณณิตา เทพนอก ม.4/1 เลขที่10)

    ตอบลบ
  14. ดีมากเลยค่ะ เนื้อหาดูเข้าใจง่ายดีทุกอย่างเลยค่ะ
    น.สจิรภิญญา. เพ็งไธสง. ม.4/1 เลขที่3

    ตอบลบ
  15. อ่านเเล้วเข้าใจง่าย และสะดวกสบายต่อการศึกษา. บุษยา ดนตรี เลขที7 ม.4/1

    ตอบลบ
  16. อ่านแล้วสนุกมากค่ะอ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ นางสาวอณุชิดา พวงเพชร ม.4/1 เลขที่23

    ตอบลบ
  17. น.ส.ปภาวดี ม่วงทอง ชั้นม.4/1 เลขที่22
    มีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย มีภาพประกอบทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  18. เนื้อหาดีมากๆคับ. ละเอียดมากคับ
    สุดยอดคับๆๆๆ. นายสิทธิชัย. ผลพิมาย เลขที่2ขั้น4/1

    ตอบลบ
  19. ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ เข้าใจมากเลยค่ะ างสาววสิตา จรูญไธสง เลขที่11 ม

    ตอบลบ
  20. เนื้อหาสาระดีมากครับ (ธนากร เครือทอง เลขที่13 ม.4/1)

    ตอบลบ
  21. เนื้อหาดีมากเลยคับ ละเอียดมากคับๆ
    นายสิทธิชัย ผลพิมาย ชั้น4/1เลขที่2

    ตอบลบ
  22. เนื้อหาดีเข้าใจยากนิดหน่อยแต่พอมีรูปประกอบก็ทำให้เข้าใจมากขึ้น นางสาวสุกัญญา สาสุขเลขที่16

    ตอบลบ
  23. เนื้อหา ดีมากค่ะเข้าใจง่าย
    เสาวิภา วารินเลขที่17 ม.4/1

    ตอบลบ
  24. เนื้อหาดีค่ะมีภาพประกอบสวยงาม ทำให้ได้คิดตามไปด้วยรวมๆแล้วดีค่ะ นางสาวจิรภัทรา เพ็งไธสง ชั้นม.4/1เลขที่15

    ตอบลบ
  25. เนื้อหาดีค่ะ อ่านง่าย💓💛
    เสาวิภา วาริน เลขที่17 ม.4/1

    ตอบลบ
  26. เข้าใจมากขึ้นครับ โอเย้!!
    นายสุดเขต สัตย์ซ้ำ เลขที่20 ม.4/1

    ตอบลบ
  27. เนื้อหาดีมากค่ะอ่านแล้วเข้าใจง่ายดี สีสันสดใสดีค่ะ
    น.ส.ฐิติมา ผลพิมาย เลขที่4 ชั้นม.4/1

    ตอบลบ
  28. เนื้อหาดี มีรูปประกอบด้วย ทำให้น่าอ่านดีค่ะ นส.ณัฐธิดา พิมพ์เงิน เลขที่ 13 ชั้น ม.4/2

    ตอบลบ
  29. อ่านเข้าใจค่ะมีรูปประกอบการสอนทำให้รู้ว่าอวัยวะต่างๆอยู่ตรงส่วนไหนของร่างกายทำหน้าที่อะไรบ้างเนื้อหาดีมากค่ะอ่านแล้วเข้าใจง่ายดี สีสันสดใสดีค่ะ👍
    😍น.ส.พิทยาพร กล้าหาญ ม.4/2 เลขที่7

    ตอบลบ
  30. เข้าใจค่ะเพราะตั้งใจอ่าน😁😘
    นางสาวจิราภรณ์ กลีบพิมาย ม.4/2 เลขที่5

    ตอบลบ
  31. อ่านง่าย เข้าใจง่ายและมีรูปภาพทำให้น่าอ่านมาขึ้นค้ะ นางสาว รุ่งทิพย์ บังพิมาย ชั้นม.4/2 เลขที่18

    ตอบลบ
  32. น่าอ่านมากค้ะเรื่องนี้อ่านแร้วเข้าใจ มีรุปบรรยายชัดค่ะ
    นส ลัลน์ลลิต หมั่นพิมาย ชั้นม.4/2 เลขที่16

    ตอบลบ
  33. อ่านแล้วเข้าใจง่ายมีรุปประกอบด้วยทำให้เรารู้ส่วนประกอบของร่างกายมากขึ้น
    นายอัษฎาวุธ คละดีม.4/2 เลขที่12

    ตอบลบ
  34. อ่านแล้วเข้าใจง่าย รูปภาพดูง่ายเข้าใจง่ายดีค่ะ
    น.ส แวววิไล จันอ่อน เลขที่29 ชั้นม.4/2

    ตอบลบ
  35. อ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ นางสาวสุกัญญา เกร่พิมาย ชั้นม.4/2 เลขที่30

    ตอบลบ
  36. อ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ
    นางสาวปิ่นอุมา ค้าสบาย ชั้นม.4/2 เลขที่14

    ตอบลบ
  37. อ่านเข้าใจดีคับ นายธนากร มาละอินทร์ เลขที่22 ม.4/2

    ตอบลบ
  38. ดีมากคะ มีรูปภาพประกอบอ่านเข้าใจดีคะ😘
    มาริสา หอมหวล ม.4/2 เลขที่28

    ตอบลบ
  39. เนื้อหาดีมากค่ะ มีรูปประกอบมากมายเเละได้ความรู้มากมาย
    นางสาว อุษา ดีขุนทด ชั้น ม.4/2 เลขที่31

    ตอบลบ
  40. เนื้อหาดีมากค่ะ อ่านเข้าใจง่าย มีรูปภาพประกอบซึ่งทำให้น่าอ่านค่ะ นางสาวสุดารัตน์ ยอดเกตุ ม.4/2 เลขที่9

    ตอบลบ
  41. เนื้อหาเยอะค่ะ แต่ก็มีลายละเอียดพร้อมภาพที่ทำให้น่าอ่าน ทำให้เรียนรู้ได้ดีค่ะ นางสาวจิรัชญา จาระงับ ม.4/2 เลขที่26

    ตอบลบ
  42. เนื้อหาดีค่ะ..ตอนแรกอ่านไม่ค่อยเข้าใจแต่พอมีรูปประกอบก็ทำให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ..เนื้อหาดี..อ่านง่ายเข้าใจง่ายค่ะ
    น.ส.ลลิตา งามพิมาย ม.4/2 เลขที่8

    ตอบลบ
  43. เนื้อหาดี มีรูปประกอบน่าเรียนมากๆ
    นายโอเบอรอน ไร่พิมาย ชั้น ม.4/2 เลขที่25

    ตอบลบ
  44. มีเนื้อหาดีค้ะ มีรูปประกอบดีค้ะ น่าอ่าน น่าสนใจ สรุปความได้ดี นางสาวศิริประภา พูนพันธ์ ม.4/2 เลขที่19

    ตอบลบ
  45. เนื้อหาดีละเอียดมากๆค่ะ มีภาพประกอบทำให้เข้าใจง่ายขึ้น น.ส.ปาริชาต นาคำม.4/2เลขที่6

    ตอบลบ
  46. เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบสีสันสวยงาม
    น.ส.ฐิติมา ยันพิมาย ชั้นม.4/2 เลขที่27

    ตอบลบ
  47. เนื้อมีความซับซ้อนแต่พอมีรูปภาพประกอบแล้วอ่านง่ายค่ะสีสันสวยงามน่าอ่านค่ะ
    (น.ส อัญจิมา บุราชกัง ม.4/2 เลขที่10)

    ตอบลบ
  48. สาระน่าเรียนรู้มากครับ มีความรู้ไห้มากมายเลยครับ
    นาย ชลสิทธิ์ คูณหัวโทน 4/2 เลขที่21

    ตอบลบ
  49. น.สณัฐณิชา. ปรองพิมาย ชั้นม.4/2เลขที่20อ่านแล้วเข้าใจง่าย รูปภาพดูง่ายแล้วอธิบายได้เข้าใจคิดตามได้เข้าใจค่ะ ทำให้รู้ส่วนประกอบของร่างกายมากขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  50. ดีมากครับ อ่านแล้วเข้าใจและเราสามารถรู้ว่าร่างกายคนเรามีอะไรบ้างครับ นายศุภณัฐ ศิริงาน ม.4/2 เลขที่17

    ตอบลบ
  51. เข้าใจครับ ปริวัฒน์ งามจันทร์ ชั้นม.4/2เลขที่23

    ตอบลบ
  52. เนื้อหาดีและชัดเจนมาครับมีรูปภาพประกอบทำให้เข้าใจง่ายมากครับ นาย นราธิป สุขพร้อม ชั้นม.4/2 เลขที่2

    ตอบลบ
  53. เนื้อหาดีและเยอะมากครับ ค่อนข้างเข้าใจยากครับ
    นายปิยวัฒน์ มาศิริ ม.4/2 เลขที่3

    ตอบลบ
  54. สาระน่าเรียนรู้มากครับ มีความรู้ไห้มากมายเลยครับ
    พีรวิชญ์ หนูคง ม.4/2 เลขที่11

    ตอบลบ
  55. เข้าใจง่ายดีคับมีภาพประกอบน่าส้นใจมากคับครูด้วย55
    นายสีรภัทร เยี่ยงอย่าง เลขที่4 ชั้น.4/2

    ตอบลบ
  56. เนื้อหาเข้าใจง่ายดีค่ะ มีภาพประกอบดีค่ะ
    น.ส รุ่งนภา อดทน ชั้น4/2 เลขที่15

    ตอบลบ
  57. เนื้อหาดีมีสาระมากเลยครับ นาย พีรวุฒิ พลไธสง ชั้นม.4/2 เลขที่24

    ตอบลบ