เนื้อเยื่อพืช ตอนที่ 3
สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาเรียนรู้ เกี่ยวกับเรื่องของเนื้อเยื่อพืชกันต่อ นะคะ เบื่อหรือยังเอ่ย ถ้าใครเบื่อก็
อดทนก่อน นะคะ เพราะเรื่องของเนื้อเยื่อพืชเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของ
พืชดอก ในหัวข้อต่อๆ ไปค่ะ
ก่อนอื่นก็ขอทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ผ่านมาแล้วนะคะ เราทราบกันแล้วใช่ไหมคะว่า เนื้อเยื่อพืชแบ่งออกเป็นเนื้อเยื่อเจริญและเนื้อเยื่อถาวร
เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกเป็น เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ และเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง ซึ่งมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันไป
วันนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเยื่อถาวรกันค่ะ
เนื้อเยื่อถาวรเป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และจะไม่มีการแบ่งเซลล์อีกต่อไป แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (simple permanent tissue)
2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissue)
1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกัน และทำหน้าที่อย่างเดียวกัน แบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่
เอพิเดอร์มิส (epidermis)
พาเรงคิมา (parenchyma)
คอลเลนคิมา (collenchyma)
สเกลอเรงคิมา (sclerenchyma)
เอนโดเดอร์มิส (endodermis)
คอร์กแคมเบียม (cork cambium)
เอพิเดอร์มิส (epidermis) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดของพืช เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างแบน แวคิวโอลใหญ่ ชั้นเดียว มีสารคิวทิน (cutin) เคลือบเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำยกเว้นที่ราก
พาเรงคิมา (parenchyma) เป็นเนื้อเยื่อที่เซลล์มีลักษณะ
ค่อนข้างกลมรี หรือทรงกระบอกและมีชีวิต
ผนังเซลล์ประกอบ
ด้วยเซลลูโลส เมื่ออยู่ติดกันจะมีช่องว่างระหว่างเซลล์
(intercellular
space) มีอากาศภายใน พบได้ในทุกส่วน
ของพืช โดยเฉพาะส่วนที่อ่อนนุ่มและอมน้ำได้มาก
คลอเรนคิมา
(chlorenchyma) เป็นพาเรงคิมาที่มีเม็ดคลอโรพลาสต์
(chloroplast) ช่วยสังเคราะห์ด้วยแสงได้ รีเสิร์ฟ พาเรงคิมา
(reserved parenchyma) เป็นพาเรงคิมาที่ทำหน้าที่สะสมอาหาร
คอลเลนคิมา (collenchyma) เป็นเนื้อเยื่อพืชที่ผนังเซลล์ประกอบด้วย เซลลูโลส และมีสารพวกเพกทิน
(pectin)
มาเคลือบทับตามขอบและมุมทำให้หนาไม่สม่ำเสมอกัน
ทำให้เซลล์พืชมีความเหนียวและแข็งแรง พบในชั้นคอร์เทกซ์ ก้านใบ เส้นกลางใบ
และขอบนอกของลำต้นไม้เนื้ออ่อน (herbaceous stem)
สเกลอเรงคิมา (sclerenchyma)
เป็นเนื้อเยื่อพืชที่
ผนังเซลล์มีสารพวกลิกนิน (lignin) มาเคลือบทับชั้นเซลลูโลส
เป็นเซลล์ที่ให้ความแข็งแรงแก่พืชเปรียบเสมือนโครงกระดูกของ
พืช แบ่งเป็น 2 ชนิด
คือ ไฟเบอร์ (fiber) เซลล์ที่มีลักษณะ
เรียวยาว ผนังเซลล์หนา
ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช สเกลอรีด
(sclereid) มีลักษณะคล้ายไฟเบอร์แต่มีขนาดสั้นและป้อม
ผนังเซลล์มีลิกนินเคลือบทับหนามาก สร้างความแข็งแรงให้แก่
พืช
พบในส่วนแข็งของเปลือกหุ้มเมล็ด เช่น เปลือกเมล็ดถั่ว
กะลามะพร้าว
เนื้อผลไม้ที่สาก ๆ เช่น เนื้อฝรั่ง
เอนโดเดอร์มิส (endodermis) อยู่ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์
ในราก มีลักษณะคล้าย พาเรงคิมา
แต่มีสารพวกลิกนินและ
ซูเบอริน (suberin) มาเคลือบทับ
ทำให้เกิดเป็นแถบขึ้นเรียก
แถบคาสปาเรียน (casparian strip) ทำให้น้ำแพร่ผ่านไม่ได้
น้ำจะแพร่ผ่านได้เฉพาะบางเซลล์เรียก พาสเสดเซลล์
(passage
cell) ซึ่งมีตำแหน่งตรงกับไซเล็มจะเห็นได้ชัดเจน
ในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
คอร์กแคมเบียม (cork cambium) เป็นพาเรงคิมาเซลล์ที่
พาเรงคิมา (parenchyma) เป็นเนื้อเยื่อที่เซลล์มีลักษณะ
ค่อนข้างกลมรี หรือทรงกระบอกและมีชีวิต ผนังเซลล์ประกอบ
ด้วยเซลลูโลส เมื่ออยู่ติดกันจะมีช่องว่างระหว่างเซลล์
(intercellular space) มีอากาศภายใน พบได้ในทุกส่วน
ของพืช โดยเฉพาะส่วนที่อ่อนนุ่มและอมน้ำได้มาก คลอเรนคิมา
(chlorenchyma) เป็นพาเรงคิมาที่มีเม็ดคลอโรพลาสต์
(chloroplast) ช่วยสังเคราะห์ด้วยแสงได้ รีเสิร์ฟ พาเรงคิมา (reserved parenchyma) เป็นพาเรงคิมาที่ทำหน้าที่สะสมอาหาร
ผนังเซลล์มีสารพวกลิกนิน (lignin) มาเคลือบทับชั้นเซลลูโลส
เป็นเซลล์ที่ให้ความแข็งแรงแก่พืชเปรียบเสมือนโครงกระดูกของ
พืช แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ไฟเบอร์ (fiber) เซลล์ที่มีลักษณะ
เรียวยาว ผนังเซลล์หนา ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช สเกลอรีด
(sclereid) มีลักษณะคล้ายไฟเบอร์แต่มีขนาดสั้นและป้อม
ผนังเซลล์มีลิกนินเคลือบทับหนามาก สร้างความแข็งแรงให้แก่
พืช พบในส่วนแข็งของเปลือกหุ้มเมล็ด เช่น เปลือกเมล็ดถั่ว
กะลามะพร้าว เนื้อผลไม้ที่สาก ๆ เช่น เนื้อฝรั่ง
เอนโดเดอร์มิส (endodermis) อยู่ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์
ในราก มีลักษณะคล้าย พาเรงคิมา แต่มีสารพวกลิกนินและ
ซูเบอริน (suberin) มาเคลือบทับ ทำให้เกิดเป็นแถบขึ้นเรียก
แถบคาสปาเรียน (casparian strip) ทำให้น้ำแพร่ผ่านไม่ได้
น้ำจะแพร่ผ่านได้เฉพาะบางเซลล์เรียก พาสเสดเซลล์
(passage cell) ซึ่งมีตำแหน่งตรงกับไซเล็มจะเห็นได้ชัดเจน
ในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น