เนื้อเยื่อพืช ตอนที่ 2
สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเยื่อพืชกันต่อนะคะ แต่ก่อนอื่น
ลืมหรือยังคะว่าติดค้างอะไรกันไว้ เฉลยค่ะ บางคนยังงงค่ะ เฉลยอะไรเอ่ย ก็เฉลย
แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ
1. เนื้อเยื่อพืชจำแนกได้กี่ประเภท ได้แก่ อะไรบ้าง
ตอบ 2 ประเภท ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) และ
เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue)
2. เนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายราก ปลายยอด ปลายกิ่ง
เรียกว่าอะไร และทำหน้าที่ใด
ตอบ เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem)
จากเรื่อง เนื้อเยื่อพืชตอนที่ 1 เราทราบแล้วใช่ไหมคะว่า เนื้อเยื่อพืชแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) และเนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) และเราก็ทราบเกี่ยวกับลักษณะและหน้าที่ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ และเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างกันค่ะ
2. เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) เป็นเนื้อเยื่อบริเวณเหนือข้อหรือโคนของปล้อง
ทำให้ปล้องยาวขึ้นพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
3.
เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) หรือแคมเบียม (cambium) เป็นเนื้อเยื่อที่แบ่งตัวออกมาด้านข้าง
ทำให้รากและลำต้นมีขนาดใหญ่ขึ้นพบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด
และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น จันทน์ผา หมากผู้หมากเมีย วาสคิวลาร์ แคมเบียม
(vascular cambium) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในมัดท่อลำเลียง
พอจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นไหมคะว่า เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อและเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างมีลักษณะอย่างไร และทำหน้าที่ใด บางคนอาจจะสงสัยว่าต้นจันทน์ผา และต้นหมากผู้หมากเมียหน้าตาเป็นอย่างไร ....มีภาพมาฝากนะคะ
ภาพต้นจันทน์ผา
ภาพต้นหมากผู้หมากเมีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น