วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนก๊าซตอนที่ 2


โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์ (ต่อ)

    สัตว์จำพวก สะเทินน้ำสะเทินบก (amphibians) ได้ออกซิเจน ประมาณ 25% จากทางผิวหนัง สัตว์พวกนี้จะต้องมีผิวหนังที่เปียกชื้น จึงจะสามารถเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยอยู่ในน้ำหรือที่เปียกชื้น


2. เหงือก (gill)
  เป็นพื้นที่หายใจของสัตว์น้ำหลายประเภท ตั้งแต่สัตว์ใหญ่ เช่น
ปลา ไปจนถึง กุ้ง หอย ดาวทะเล หนอนทะเล เป็นต้น

โครงสร้างคล้ายขนนกที่ยื่นออกมานอกตัวเข้าไปในน้ำ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ

เหงือกปลามีเนื้อเยื่อที่ลักษณะคล้ายขนนกที่พับไปมาเรียงตัวกันเป็นแผง ภายในประกอบด้วยเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ขณะที่ปลาว่ายน้ำออกซิเจนปริมาณน้อยที่ละลายอยู่ในน้ำจะแพร่ผ่านผนังของเส้นเลือดฝอยเหล่านี้แล้วไหลเวียนไปตามระบบหมุนเวียนเลือด











 












6 ความคิดเห็น: