วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เตรียมสอบ กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอม การสร้างภูมิคุ้มกัน และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอม 
การสร้างภูมิคุ้มกัน และความผิดปกติของ
ระบบภูมิคุ้มกัน


สวัสดีค่ะ สุขสันต์วันแห่งความรักนะคะ


       วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องก
ลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอม การสร้างภูมิคุ้มกัน และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันแบบสรุปเข้มเตรียมตัวสอบกันนะคะ

- กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบไม่จำเพาะและมีเซลล์ความจำต่อแอนติเจนนั้น

 - แมโครฟาจพัฒนามาจากโมโนไซต์และมีหน้าที่นำเสนอชิ้นส่วนของแอนติเจนบนผิวเซลล์ต่อเซลล์ทีชนิด CD4 และทำลายแอนติเจน

- เซลล์พลาสมาพัฒนามาจากเซลล์ทีชนิด CD8 ที่ถูกกระตุ้น เพื่อสร้างแอนติบอดี

- เด็กที่เคยได้รับวัคซีนบาดทะยัก เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวจำเป็นต้องได้รับวัคซีนซ้ำอีก

- การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ทุกชนิด

เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสจะถูกเซลล์ทีเข้าทำลายได้โดยตรง

- เซลล์ความจำเกิดจากการแบ่งเซลล์ของเซลล์บีและเซลล์ที

- ทอกซอยด์ผลิตจากสารพิษของแบคทีเรีย

- เชื้อไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์

- เชื้อโรคกระตุ้นเซลล์แมสต์

- เชื้อโรคถูกดักจับโดยแมโครฟาจ

- เชื้อโรคถูกดักจับโดยนิวโทรฟิลและโมโนไซต์

เชื้อโรคกระตุ้นเซลล์แมสต์ทำให้เกิดการอักเสบ

- แมโครฟาจกระตุ้นเซลล์ทีชนิด CD4

- เซลล์ทีชนิด CD4 กระตุ้นเซลล์ทีชนิด CD8

- เซลล์ทีชนิด CD8 แบ่งเซลล์ทำลายเซลล์ติดเชื้อ

- หน้าที่ของเซลล์ CD8  คือ ทำลายเซลล์ติดเชื้อ

หน้าที่ของแอนติบอดี คือ จับกับเชื้อโรค

- สารพิษซึ่งเชื้อโรคปล่อยออกสู่กระแสโลหิต คือ Toxoid

- เมื่อมีอหิวาตกโรคระบาดนักเรียนจะถูกแนะนำให้ไปรับการฉีดวัคซีน  (Vaccine) คือ เชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์หรือตายลงแล้ว

สารแอนติบอดีจะมีการลำเลียงไปยังส่วนต่างของร่างกายโดย ระบบหมุนเวียนเลือด

- การแสดงถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน คือ ปุ้ยหายหวัดได้เองโดยไม่ต้องไปหาหมอ

-  antigen คือ โปรตีนที่อยู่บนผิวเซลล์ของเชื้อโรค

-  เซลล์บีและเซลล์ทีทำงานสัมพันธ์กันโดยเซลล์ทีผู้ช่วยกระตุ้นให้เซลล์บีสร้างแอนติบอดี

-  เซรุ่มคือ แอนติบอดีที่ได้จากกระต่าย

ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคหรือสารพิษที่นำมาทำเป็นวัคซีนได้เพราะ เชื้อโรคในวัคซีนตายแล้ว  เชื้อโรคในวัคซีนมีฤทธิ์อ่อนลงมาก และสารพิษในวัคซีนหมดความเป็นพิษแล้ว      

- หลักการทำงานของวัคซีนคือใช้เชื้อโรคที่ตายแล้วกระตุ้นการสร้างเซลล์เมมเมอรี

- พิษซึ่งทำให้อ่อนลงแล้วฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี คือ ทอกซอยด์

วัคซีนกับเซรุ่มต่างกันโดยวัคซีนเป็นภูมิคุ้มกันก่อเอง ส่วนเซรุ่มเป็นภูมิคุ้มกันที่รับมา

วัคซีน คือ เชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์หรือตายแล้ว

-  เชื้อเอดส์เกิดจากไวรัส จึงไม่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันได้
💖💖💖💖💖💖 เป็นอย่างไรกันบ้างคะ  นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันแล้วนะคะ ใครที่คิดว่ายากก็ขอให้หมั่นอ่านทบทวนบ่อยๆ นะคะ ชัยชนะเป็นของนักเรียนที่หมั่นฝึกฝนแน่นอนค่ะ สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ


13 ความคิดเห็น:

  1. นางสาวปภาวดี ม่วงทอง 5/1 เลขที่21
    เป็นเนื้อหาดีมาก ทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  2. ได้ความรู้มากเลยค่ะ น.ส.นพรัตน์ สมทางดี ม.5/1 เลขที่6

    ตอบลบ
  3. เนื้ออ่านง่าย กระชชับได้ใจความใช้ในการสอบได้ดีมากเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับบล็อกดีๆนะคะ
    นางสาววสิตา จรูญไธสง ชั้นม.5/1 เลขที่11

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาอ่านงาน สบายตา กระชับไอ้ใจความดีค่ะ
    นางสาวธันย์ชนก เรี่ยวแรง ม.5/1 เลขที่5

    ตอบลบ
  5. ดีครับ เนื้อหาดีมากครับอ่านแล้วเข้าใจง่ายและได้ใจความมากครับ
    นายทัตพงศ์ กลางประพันธ์ ม.5/1 เลขที่18

    ตอบลบ
  6. นาย ธีรภัทร ซื่อตรง ม.5/1 เลขที่14
    ดีคับ

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาอ่านง่าย ละเอียดดีค่ะ น.ส. ปานณภัทร เกตุแก้ว เลขที่8 ม.5/1

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาอ่านง่ายสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
    น.ส.ศศิกานต์ อินทชัย ม.5/1 เลขที่17

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาดีมากค่ะ นางสาวฐิติมา ผลพิมาย ม.5/1เลขที่4

    ตอบลบ
  10. เนื้อหาดี อ่านง่ายได้ใจความค่ะ
    นางสาวพัณณิตา เทพนอก ม.5/1 เลขที่10

    ตอบลบ
  11. ดีมากๆค่ะ อ่านแล้วเข้าใจมากๆ นส.ปิยธิดา อาจสุวรรณ ม.5/1 เลขที่9

    ตอบลบ
  12. อ่านง่าย​ เข้าใจง่ายค่ะ​ เนื้อหาครบถ้วนดีค่ะ
    นางสาวอณุชิดา​ พวงเพชร​ ม.5/1 เลขที่22

    ตอบลบ
  13. นางสาวจิรภิญญา เพ็งไธสง ม5/1 เลขที่3
    เนื้อหากระชับ เข้าใจง่ายเเละเข้าใจเนื้อหาดีค่ะ

    ตอบลบ