วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560
วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560
วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560
สรุป เรื่อง โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์
สรุป เรื่อง โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์
อะมีบาอาศัยอยู่ในน้ำ
แก๊สที่ละลายอยู่ในน้ำจึงแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปได้
โดยอะมีบาใช้เยื่อหุ้มเซลล์เป็นโครงสร้างทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส คล้ายกับการแลกเปลี่ยนแก๊สของเซลล์เม็ดเลือดแดงคน
แต่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงของคนมีประสิทธิภาพดีกว่าปัจจัยที่จำเป็นในการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตต่าง
ๆ
พื้นที่ผิวสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะต้องบางและเปียกชื้นอยู่เสมอ
แต่ไม่จำเป็นต้องมีหลอดเลือด เช่น พลานาเรียยังไม่มีหลอดเลือด
อวัยวะสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำส่วนใหญ่
คือ เหงือก ( Gills ) เช่น ในกุ้ง หอย ปู ปลา
ข้อที่ได้เปรียบของอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์น้ำคือ
อวัยวะ แลกเปลี่ยนแก๊สนั้นจะเปียกชื้นอยู่เสมอ
สิ่งที่ไม่เหมาะสมกับการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำเมื่อเทียบกับสัตว์บก
คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับบนบก
ตั๊กแตนและแมลงอื่น
ๆ มีการหายใจโดยผ่านอากาศเข้าทางช่องหายใจ เข้าสู่ท่อลมแล้วเข้าสู่เนื้อเยื่อโดยตรง
ดังนั้นการหมุนเวียนแก๊สผ่านเข้าออกจึงขึ้นอยู่กับจังหวะเคลื่อนไหวของลำตัวแมลง
ประมาณกันว่าพื้นที่ผิวของถุงลมในปอด
เมื่อนำมาต่อกันจะมีขนาดใหญ่ประมาณสนามเทนนิส
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
ศูนย์ควบคุมการหายใจอยู่ที่ medulla oblongata ซึ่งเชื่อมระหว่าง cerebellum และ spinalcord ปลาดาวเป็นสัตว์ใน Phylum Echinodermata ใช้น้ำแทนเลือด การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดกับผนังลำตัวผ่านเข้าไปยัง
body fluid ยกเว้นพวกปลิงทะเล ซึ่งมี respiratory
tree ซึ่งเปิดที่ Cloaca
เป็นตัวแลกเปลี่ยนแก๊ส งูดินมีปอดและผิวหนังเป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส
ถุงลมพิเศษของนกที่เพิ่มออกมาจากปอดเป็นส่วนที่เก็บอากาศสำรองเอาไว้ใช้ในขณะนกบิน
เมื่อนกหายใจเข้าอากาศจะผ่านเข้าปอดแล้วเก็บสำรองไว้ในถุงลม
อากาศในปอดแลกเปลี่ยนแก๊สกับหลอดเลือดฝอยแล้วนกหายใจออกอากาศในถุงลมที่เก็บไว้ออกมาแทนที่
ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สอีกครั้ง นกหายใจเข้าออก 1 ครั้งจะเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สถึง
2 หน
ในการจับสัตว์ใส่ไว้ในอุปกรณ์ที่เก็บลมหายใจออกเอาไว้ให้สัตว์นั้นสูดเข้าไปใช้อีก
ปริมาณ CO2 ในอากาศจะเพิ่มขึ้นทำให้สัตว์นั้นต้องเพิ่มอัตราการหายใจ
ในการที่จับสัตว์ไปขังไว้ในอุปกรณ์ที่ปิดสนิท
และสามารถดูด CO2 จากลมหายใจออกของสัตว์ออกจนหมดทุกครั้ง
แล้วปล่อยให้สัตว์นั้นหายใจต่อไป ปรากฏว่าชั่วระยะเวลาหนึ่งการหายใจยังเป็นปกติ
แต่หลังจากนั้นอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นแสดงว่าออกซิเจนที่อยู่ในอุปกรณ์นั้นลดปริมาณลงทุกทีสัตว์จึงต้องเพิ่มอัตราการหายใจ
ปริมาณ CO2 ในน้ำจะเพิ่มขึ้น เพราะปลาหายใจเอา CO2
ออกมา เมื่อ CO2 ละลายน้ำจะมีสภาวะเป็นกรด ทำให้บรอมไทมอลบลู
เปลี่ยนเป็นสีเหลือง
พลานาเรียแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านลำตัวที่เปียกชื้น เช่นเดียวกับไส้เดือนดิส่วนอะมีบาไม่ถือเป็นสัตว์
แต่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ใช้หลักการแพร่ผ่านเซลล์เหมือนกัน หอยใช้เหงือก
หอยทากใช้ปอด
โพรทิสตาหรือโพรโทซัว
ใช้หลักการแพร่ของแก๊สผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ พลานาเรียและไส้เดือนดินใช้หลักในการแพร่ของ
O2 ผ่านผิวลำตัวที่เปียกชื้นและบาง
และต้องการพื้นที่ผิวสัมผัสมาก แต่ไส้เดือนดินขนาดใหญ่กว่า การปรับตัวให้รับแก๊ส O2
ได้ดี โดยมีระบบเลือดมาสัมผัสเพื่อรับแก๊สที่แพร่เข้ามา
ส่วนพลานาเรียตัวแบนกว่า พื้นที่ผิวมากกว่าเมื่อเทียบกับไส้เดือนดิน
แก๊สจึงแพร่ผ่านไปทีละเซลล์จนสัมผัสเซลล์ของเนื้อเยื่อ
แมลงมีระบบท่อลมที่แตกแขนงเป็น
Tracheole ไปสัมผัสเซลล์ร่างกาย ปลาย Tracheole มีของเหลวอาบอยู่ล้อมรอบ O2 จึงละลายในของเหลวนี้แล้วแพร่เข้าเซลล์
แมลงจะหายใจไม่ทัน
เมื่อร่างกายมีขนาดใหญ่มาก การส่งอากาศจากภายนอกเข้าไปถึงทุกเซลล์ของร่างกาย
โดยอาศัย Tracheole จะเกิดไม่ทั่วถึงและ Tracheole เหล่านั้น อาจถูกบีบให้แฟบก็ได้
Blood gill คือเหงือกที่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง
O2 ที่จะได้รับจะผ่านเมมเบรนของเหงือกเข้าสู่หลอดเลือด
ไปตามหลอดเลือดเพื่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบในหอย กุ้ง ปู ปลา ลูกกบ ซาลามานเดอร์
ลักษณะที่ได้เปรียบของปลาในการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยอาศัยเหงือก
แต่ข้อที่สำคัญที่สุด คือการมีหลอดเลือดฝอยแทรกอยู่ในซี่เหงือกจำนวนมากนั้น
เมื่อมีพื้นที่ผิวในการสัมผัสกับน้ำมากย่อมมีหลอด
เลือดฝอยที่จะรับ O2 ได้มากด้วย พื้นที่ผิวของซี่เหงือกที่สัมผัสกับน้ำมาก
หลอดเลือดฝอยในซี่เหงือกย่อมมีโอกาสรับ O2
ในน้ำได้มากด้วย โดยการให้ระบบหลอดเลือดฝอยและระบบน้ำได้สัมผัส และโดยเฉพาะเมื่อ 2
ระบบนี้ไหลสวนทางกันด้วยโอกาสที่ O2 จะแพร่จากน้ำเข้าหลอดเลือดฝอยจะเกิดได้ตลอดเวลาที่ 2 ระบบนี้สัมผัสกันอยู่
Respiratory tree เป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊สของปลิงทะเลแตกแขนงคล้ายกิ่งไม้ออก
2 ข้าง เปิดออกภายนอกที่โคลเอกา เมื่อโคลเอกาหดตัวน้ำจะไหลเข้าท่อนี้
เมื่อโคลเอกาคลายตัวน้ำจะไหลออกจากท่อ
*************************************************************************************
แบบทดสอบ เรื่อง โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์
แบบทดสอบ เรื่อง โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์
จงเลือกข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.
สิ่งมีชีวิตชนิดใดใช้เยื่อหุ้มเซลล์เป็นโครงสร้างทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส
ซึ่งคล้ายกับการ
แลกเปลี่ยนแก๊สจองเซลล์เม็ดเลือดแดงของคน
ก.
พลานาเรีย ข. อะมีบา ค. ไส้เดือนดิน ง. แมลง
2.
ปัจจัยสำคัญในการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ คือ
ก.
พื้นที่ผิวสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สต้องบาง
ข.
พื้นที่ผิวสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สต้องมีลักษณะเปียกชื้น
ค.
พื้นที่ผิวสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สต้องมีหลอดเลือด
ง. ทั้งข้อ ก และข้อ
ข
3. อวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่คือ
ก.
Trachea ข.
Gills
ค.
Malpighian tubules ง.
Book lungs
4. สิ่งที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะที่ใช้แลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำ
เมื่อเปรียบเทียบกับอวัยวะ
แลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์บก คือ
ก.
การไหลเวียนของแก๊ส ค. ความเปียกชื้น
ข.
อวัยวะอยู่ในที่ปลอดภัยกว่า ง.
ปริมาณออกซิเจนสูง
5.
สภาพที่ไม่เหมาะสมในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำเมื่อเทียบกับสัตว์บก คือ
ก.
การไหลเวียนของน้ำผ่านไปช้ามาก
ข.
พื้นที่ผิวของอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊สในน้ำมักถูกทำลายได้ง่าย
ค.
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีน้อยมาก
ง.
ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำมักมีน้อยกว่าบนบก
6.
ตั๊กแตนมีวิธีทำให้แก๊สหมุนเวียนเข้าสู่พื้นที่ผิวที่แลกเปลี่ยนแก๊สได้โดย
ก.
เคลื่อนไหวกะบังลม ค.
การเคลื่อนที่ของซิเลียเล็ก ๆ จำนวนมหาศาล
ข.
เคลื่อนไหวซี่โครง ง. จังหวะของการเคลื่อนไหวลำตัว
7. พื้นที่ผิวของถุงลมในปอดคน
มีขนาดประมาณเท่าใด
ก.
จานข้าว ข.
โต๊ะกินข้าว ค.
เต้นท์นอน 4 คน ง. สนามเทนนิส
8. ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
การหายใจขึ้นอยู่กับการควบคุมของสมองส่วนที่เรียกว่า
ก.
Cerebellum ข.
Hypothalamus ค.
Thalamus ง.
Medulla oblongata
9. สัตว์ชนิดใดไม่ใช้ปอดสำหรับหายใจ
ก.
งูดิน ข.
ปลามีปอด ( lung fish ) ค.
ปลาดาว ง. นกนางแอ่น
10. นกมีถุงลมแทรกเข้าไปในช่องว่างของลำตัวนก
เพื่อทำหน้าที่ใด
ก.
สำรองอากาศเอาไว้ให้นกใช้ขณะบิน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนแก๊ส
ข.
ทำให้กระดูกพรุน ตัวจะได้เบาสะดวกในการบิน
ค.
เป็นถุงเก็บพักอาหารเอาไว้ ก่อนนำไปย่อย
ง.
แลกเปลี่ยนแก๊สได้
11.
ในการทดลองนำสัตว์เล็กไปใส่ไว้ในอุปกรณ์ที่ปิดสนิท
ซึ่งเชื่อได้ว่าเมื่อสัตว์นั้นหายใจออก
มาแล้วจะสูดอากาศนั้นเข้าไปอีกในช่วงหายใจครั้งต่อไป
พบว่าการหายใจของสัตว์นั้นเพิ่มขึ้น
ซึ่งอธิบายได้ว่า
ก.
แก๊สออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจลดปริมาณลง ข.
แก๊สไนโตรเจนเพิ่มปริมาณมากขึ้น
ข.
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ง.
ทั้งข้อ ก , ข้อ ข และค
12. ใช้อุปกรณ์เดียวกับข้อ 11
และใช้สัตว์ทดลองชนิดเดียวกัน แต่เพิ่มอุปกรณ์เก็บแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกมากับลมหายใจออกเอาไว้หมดทุกครั้ง
ปรากฏผลการทดลองพบว่า
สัตว์จะหายใจอย่างสม่ำเสมอชั่วระยะหนึ่ง
ต่อจากนั้นอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้น แสดงว่า
ก.
แก๊สออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจลดปริมาณลง ค.
แก๊สไนโตรเจนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
ข.
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณเพิ่มขึ้น ง.
ทั้งข้อ ก , ข้อ ข และข้อ ค
13. ในการทดลองใส่ปลาทองลงไปในบีกเกอร์ที่มีน้ำ
และหยดบรอมไทมอลบลู 2 – 3 หยด เมื่อทิ้ง
เอาว้าประมาณ 1 ชั่วโมง ปรากฏว่าน้ำเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
สาเหตุที่เปลี่ยนเนื่องมาจาก
ก.
ปริมาณ O2 ในน้ำลดลง ค. ปริมาณ CO2 ในน้ำลดลง
ข.
ปริมาณ O2 ในน้ำเพิ่มขึ้น ง.
ปริมาณ CO2 ในน้ำเพิ่มขึ้น
14. พลานาเรียมีการแลกเปลี่ยนแก๊สในลักษณะเดียวกับสัตว์ชนิดใด
ก. อะมีบา ข. ไส้เดือนดิน ค.
หอย ง. หอยทาก
15. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
พวกโพรทิสตาหรือโพรโทซัว มีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยวิธีใด
ก.
แพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ค. แพร่ผ่านผิวลำตัว
ข.
แพร่ผ่านผนังเซลล์ ง. ไม่ใช้ออกซิเจน
16. การแลกเปลี่ยนแก๊สของพลานาเรียต่างกับไส้เดือนดินอย่างไร
ก.
ใช้ผิวลำตัวที่เปียกชื้นเหมือนกัน แต่พื้นที่ผิวของพลานาเรียน้อยกว่าไส้เดือนดิน
ข.
ไส้เดือนดินมีหลอดเลือดรับแก๊ส O2 แพร่เข้าไปส่วนพลานาเรียแก๊ส
O2 ผ่านไปทีละ
เซลล์
ค.
ไส้เดือนดินอยู่บนบก พลานาเรียอยู่ในน้ำ การแลกเปลี่ยนแก๊สใช้วิธีต่างกันเลย
ง.
พลานาเรียแลกเปลี่ยนแก๊สได้ดีกว่าไส้เดือนดิน เพราะอยู่ในน้ำ O2
ละลายน้ำได้ดี
17.
เหตุใดระบบเลือดของแมลงไม่มีความจำเป็นในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
ก.
ระบบเลือดของแมลงไม่มีฮีโมโกลบิน
ข.
ระบบเลือดของแมลงเป็นระบบเปิด ไม่มีหลอดเลือดฝอยไปสัมผัสเซลล์ของร่างกายอยู่แล้ว
ค.
แมลงมีระบบท่อลมแตกแขนงเป็นท่อเล็ก ๆ ไปสัมผัสเซลล์
ง.
อาศัยช่องหายใจหรือรูสไปเรเคิลที่เปิดปิดได้ ส่งอากาศเข้าสู่เซลล์
18.
ในอนาคตแมลงควรมีวิวัฒนาการให้ร่างกายมีขนาดใหญ่โตมาก ๆ ได้หรือไม่
ก.
น่าจะได้ เพราะแมลงมีการปรับตัวได้ดีทั้งรูปร่างและสรีรวิทยา
ข.
น่าจะได้ เพราะแมลงมีจำนวนและชนิดมากมายกว่าสัตว์ใด ๆ
ค.
น่าจะไม่ได้ เพราะร่างกายขนาดใหญ่โตมากจะต้องกินอาหารมาก ซึ่งในขณะนั้น อาหาร
น่าจะขาดแคลน
ง.
น่าจะไม่ได้ เพราะแมลงจะหายใจไม่ทัน
19. สัตว์ที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สผ่าน Blood
gill
ก. ปลา ข.
ซาลามานเดอร์ ค.
หอย ง. ถูกทุกข้อ
20.
ข้อได้เปรียบของปลาในการแลกเปลี่ยนแก๊สมากที่สุด คือ
ก.
ปลาเป็นสัตว์ว่องไว ว่ายน้ำเร็ว จึงได้รับ O2
จากน้ำมาก
ข.
มีเหงือกมารวมอยู่ที่เดียวกันและอยู่ในร่างกาย โดยมี Operculum ปิดเป็นการป้องกัน
อันตรายแก่เหงือก
ค.
เหงือกปลาประกอบด้วยซี่เหงือกจำนวนมาก จึงมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากมาย
ง.
มีหลอดเลือดฝอยแทรกอยู่ในซี่เหงือก เพื่อรับออกซิเจนจากน้ำ
21.
กลไกที่หลอดเลือดฝอยในซี่เหงือกจะรับออกซิเจนได้ โดยอาศัยวิธีใด
ก.
ขณะที่ปลาว่ายน้ำอย่างรวดเร็ว จะอ้าปากกินน้ำ
ข.
แผ่นแก้ม Operculum เคลื่อนไหวตลอดเวลา
เป็นจังหวะพอดีกับการอ้าปาก หุบปากของปลา
ค.
ให้น้ำไหลออกจากช่องปาก ผ่าน Operculum ออกไป
เป็นการทำให้น้ำไหลชะเหงือกไป
อย่างสม่ำเสมอ
ง.
มีระบบให้หลอดเลือดฝอยในซี่เหงือกสัมผัสกับน้ำมากที่สุด
22. Respiratory tree เป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์ชนิดใด
ก.
ปลิงน้ำจืด ข. ปลิงทะเล ค. แม่เพรียง ง. ดาวทะเล
************************************************************************************
วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System)
ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System)
คำศัพท์
Heart = หัวใจ
petrol = น้ำมัน
Lung = ปอด
Atrium = หัวใจห้องบน
Ventricle = หัวใจห้องล่าง
คำศัพท์
Heart = หัวใจ
petrol = น้ำมัน
Lung = ปอด
Atrium = หัวใจห้องบน
Ventricle = หัวใจห้องล่าง
ระบบขับถ่าย (Excretory System)
ระบบขับถ่าย (Excretory System)
คำศัพท์
kidney = ไต
ureter = ท่อไต
bladder = กระเพาะปัสสาวะ
urethra = ท่อปัสสาวะ
blood = เลือด
urine = ปัสสาวะ
nephrons (urine maker)= หน่วยไต
sphincter = กล้ามเนื้อหูรูด
คำศัพท์
kidney = ไต
ureter = ท่อไต
bladder = กระเพาะปัสสาวะ
urethra = ท่อปัสสาวะ
blood = เลือด
urine = ปัสสาวะ
nephrons (urine maker)= หน่วยไต
sphincter = กล้ามเนื้อหูรูด
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)